การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ออนไลน์โดยประยุกต์ใช้ The 3T Framework ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร DEVELOPING AN ONLINE MATHEMATICS CURRICULUM USING THE 3T FRAMEWORK AND ACTIVE LEARNING FOR ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS OF BANGKOK DEPARTMENT OF EDUCATION

Main Article Content

เอมมิกา วชิระวินท์
สินชัย จันทร์เสม
ประภาวรรณ สมุทรเผ่าจินดา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการใช้หลักสูตรคณิตศาสตร์ออนไลน์ของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาหลักสูตรคณิศาสตร์ออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาบริบทและความต้องการของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 10 คน อาจารย์จำนวน 3 คน และ นักศึกษา จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฯ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผลวิจัย 1) บริบทของโรงเรียนมีความขาดแคลนด้านบุคลากรโดยเฉพาะครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ แต่โรงเรียนมีความพร้อมในด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี สารสนเทศและครูสามารถใช้สื่อการสอนและหลักสูตรออนไลน์ได้ โดยพบปัญหาว่านักเรียนขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ รวมถึงนักเรียนขาดความสนใจในการเรียนและต้องการหลักสูตรออนไลน์ที่มีคุณภาพและสอดคล้องตามบริบท โดยมีลักษณะเป็นหลักสูตรแบบผสมผสาน 2) หลักสูตรคณิตศาสตร์ออนไลน์มีการจัดกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้ The 3T Framework ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ระยะเวลาดำเนินการของหลักสูตร 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบประสานเวลา (Synchronous) มีครูเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม จำนวน 12 ชั่วโมง และ รูปแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์และแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวน 18 ชั่วโมง เนื้อหาเรื่องอัตราส่วน สื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย เว็บไซต์ วิดีโอ มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เกมการศึกษา และแบบฝึกหัด ที่พัฒนาโดยใช้ Canva Zoom YouTube และ Scratch ผลการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฯ พบว่ามีความสอดคล้องทั้งในด้านเนื้อหา และด้านเทคโนโลยี ผลการประเมินหลักสูตรฯในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วชิระวินท์ เ. ., จันทร์เสม ส. ., & สมุทรเผ่าจินดา ป. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ออนไลน์โดยประยุกต์ใช้ The 3T Framework ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร: DEVELOPING AN ONLINE MATHEMATICS CURRICULUM USING THE 3T FRAMEWORK AND ACTIVE LEARNING FOR ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS OF BANGKOK DEPARTMENT OF EDUCATION. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 67–83. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16141
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชลธิชา พิมพ์ทอง. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน Local Context Based Learning : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(1),108-119.

นันท์นลิน สีแก่นวงศ์ และ อาภรณ์ สอาดเอี่ยม. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 24(2), 32 – 48.

รัตนาภรณ์ พินิจนึก. (2565). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 วารสารวิจัยศรีล้านช้าง. 2(7), 53-61.

วุฒิชัย ภูดี. (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล: วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 3(2), 190-199.

สินชัย จันทร์เสม และ เอมมิกา วชิระวินท์ . (2564). การใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบทเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย .วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1), น. 99-111.

สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (Problem Solving). กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

อัญญาณี สุมน. (2560). สรุปผลการวิจัยโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระแสงวิทยา. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนพระแสงวิทยา. สืบค้นจาก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/download/5114/2289/4921

เอมมิกา วชิระวินท์ และ สินชัย จันทร์เสม .(2563). ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษาสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15(1), 70-84.

Hart T.L. (2024). Supporting Elementary Teachers with Technology Integration within the Mathematics Curriculum (Doctoral dissertation). Walden University. MN. USA.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Magana, Sonny. (2017). Disruptive Classroom Technologies. USA: Corwin.

Puarungroj, W., Pongpatrakant, P. & Phromkhot, S. (2017). Trends in modern teaching and learning methods using online formative assessment tools. Journal of Learning Innovations Walailak University. 3(2), 45-68.

Most read articles by the same author(s)