การใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบท เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สินชัย จันทร์เสม
เอมมิกา วชิระวินท์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบทสำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 20 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมแบบเชื่อมโยงบริบทของโรงเรียน จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.35 โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.10 ( =11.35, SD=3.10) และมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังการร่วมกิจกรรมเท่ากับ 17.85 และ 4.45 ตามลำดับ  ( = 17.85, S.D= 4.45)  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมของนักเรียน โดยใช้สถิติ paired t-test พบว่าคะแนนก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างจากคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p < 0.001) สำหรับการศึกษาด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์พบว่า ก่อนการร่วมกิจกรรมค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.45 และ 1.02 ตามลำดับ  ( = 2.45, S.D= 1.02) โดยที่เจตคติหลังการร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.01 ( = 3.30, S.D=1.01) เมื่อเปรียบเทียบเจตคติก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม พบว่าเจตคติก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างจากหลังเข้าร่วกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (p < 0.0019) คำสำคัญ: กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์เชื่อมโยงบริบท; การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์; เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์  ABSTRACT The purposes of this study was to study the effectiveness of mathematical supplementary activities using context based approach for developing the ability for solving mathematical problems and developing positive attitude towards mathematics of the students in  a small school of Bangkok. The target group was 20 students at Prathomsuksa 4 - 6. Using simple random sampling method the target group comprised of 6 students from Prathomsuksa 4, 7 students in Prathomsuksa 5 and 7 students in Prathomsuksa 6. The research tools were 1) 6 activity plans developed based on the school context, 2) the test for math problem solving ability, and 3) the attitude towards mathematics questionnaire. The results showed that in solving mathematical problem ability of the students before participating the activity, the mean was 11.35 with the standard deviation of 3.10 (  = 11.35, SD = 3.10). The mean and standard deviation after the activity were 17.85 and 4.45, respectively (  = 17.85, S.D = 4.45).  When compare the pre- and post-activity scores of students using Paired t-test, it was found that the pre-activity score was significantly different from the post-activity score at .01 (p <0.001). For the study of attitudes towards mathematics, it was found that before participating the activities, the overall average was at low level with mean and standard deviation of 2.45 and 1.02, respectively ( = 2.45, S.D = 1.02). On the other hand, the attitude after participating in activities was at a moderate level with the mean of 3.30 and the standard deviation of 1.01 ( = 3.30, S.D = 1.01). When comparing the difference of the attitudes before and after the activity, It was found that attitudes before participation were significantly different from those after participating in activities at the .01 level (p <0.0019). Keywords : Context-Based Approach for Mathematics Supplementary Activities; Mathematical Problem Solving Ability; Attitudes Towards Mathematics

Article Details

How to Cite
จันทร์เสม ส., & วชิระวินท์ เ. (2021). การใช้กิจกรรมเสริมคณิตศาสตร์แบบเชื่อมโยงบริบท เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13799
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)