ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความพร้อมทางการอ่านของเด็กอนุบาลในโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 TEACHERS’ OPINIONS TOWARDS KINDERGARTENS’ READING READINESS IN SCHOOLS UNDER PATHUM THANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
บทคัดย่อ สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความพร้อมทางการอ่านของเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ใน 3 ด้าน ได้แก่ การตระหนักรู้เกี่ยวกับเสียงและตัวอักษร การตระหนักรู้สิ่งพิมพ์ และความเข้าใจในการอ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นอนุบาลของเด็กอายุ 4-5 ปี และ/ หรือ 5-6 ปี ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดหมวดหมู่เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความพร้อมทางการอ่านของเด็กอนุบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.08, SD = 0.350) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (3.73 ≤ M ≤ 4.47) ได้แก่ (1) ความเข้าใจในการอ่าน (M = 4.47, SD = 0.53) ประกอบด้วย การคาดเดาความสัมพันธ์ของเสียง พยัญชนะ และเรื่องราวที่คุ้นเคย (M = 4.42, SD = 0.62) และการมีส่วนร่วมในการอ่านหรือเล่าเรื่องราวในหนังสือ (M = 4.51, SD = 0.55) (2) การตระหนักรู้สิ่งพิมพ์ (M = 4.15, SD = 0.41) ประกอบด้วย แบบแผนทางภาษา (M = 3.96, SD = 0.60) และการแสดงความคิดผ่านภาพตัวอักษร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ (M = 4.40, SD = 0.62) และ (3) การตระหนักรู้เกี่ยวกับเสียงและตัวอักษร (M = 3.73, SD = 0.42) ประกอบด้วย การตอบสนองและสร้างเสียงที่หลากหลาย (M = 3.16, SD = 0.68) และความรู้เกี่ยวกับเสียงและตัวอักษร (M = 4.00, SD = 0.41) ตามลำดับ คำสำคัญ: ความพร้อมทางการอ่าน ความคิดเห็นของครู เด็กอนุบาล Abstract The survey research objective was to study teachers’ opinions towards kindergartens’ reading readiness in schools under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 in three aspects: phonological awareness and alphabet knowledge, print awareness, and reading comprehension. The samples were 119 teachers teaching children at the ages of 4-5 or/and 5-6 in the second semester of academic year 2020. The research tool was a questionnaire. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, means, standard deviation, and content analysis. The research results revealed that the overall picture was at the high level (M = 4.08, SD = 0.350). Considerably, all aspects were at the high level of teachers’ opinions (3.73 ≤ M ≤ 4.47). (1) reading comprehension (M = 4.47, SD = 0.53) consisted of decoding (M = 4.42, SD = 0.62), participating in reading or retelling a familiar story (M = 4.51, SD = 0.55); (2) print awareness (M = 4.15, SD = 0.41) consisted of concepts of print (M = 3.96, SD = 0.60), expressing ideas through various types of prints (M = 4.40, SD = 0.62); and (3) phonological awareness and alphabet knowledge (M = 3.73, SD = 0.42) consisted of building and responding to a variety of sounds (M = 3.16, SD = 0.68), phonemic and letter Knowledge (M = 4.00, SD = 0.41), respectively. Keywords: Reading Readiness, Teachers’ Opinions, KindergartensDownloads
Issue
Section
บทความวิจัย