ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI)

Main Article Content

ปุณยวัจน์ เปรมปรีดิ์
สมภพ แซ่ลี้
วรรณภร ศิริพละ
มณีนาถ แก้วเนียม
พงศ์รัศมิ์ เฟื่องฟู

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนเต็มของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนศึกษานารี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม จำนวน 9 แผน (2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม จำนวน 5 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ โดยพบว่า มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 และ (4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม จำนวน 15 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.40/76.53 ซึ่งเป็นตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก   คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวนเต็ม   ABSTRACT The objectives of research were (1) to develop the mathematics exercises on addition, subtraction, multiplication and division of integers for the 1st year secondary students with cooperative learning (TAI) approach based on 75/75 criteria, (2) to compare the mathematics learning achievement on addition, subtraction, multiplication and division of integers of the students before and after studying by using the mathematics exercises with cooperative learning (TAI) approach, (3) to compare the mathematics learning achievement on integers of students after studying by using the mathematics exercises with cooperative learning (TAI) approach and 70 percent criterion and (4) to study the satisfaction of students toward the cooperative learning (TAI) by using the mathematics exercises developed. The sample consisted of 50 students who were studying in the 1st year secondary students of Suksanari school in the first semester of 2016 academic year. They were selected by cluster random sampling. The research instruments consisted of (1) 9 lesson plans, (2) the mathematics exercises divides into 5 topics, (3) Items of the mathematics learning achievement test. The difficulty of test was from 0.40 to 0.80, the discrimination was from 0.20 to 0.60 and the reliability was totally 0.73, and (4) 15 items of the satisfaction questionnaire towards the cooperative learning (TAI) by using the mathematics exercises developed. The data were analyzed by arithmetic mean, percentage, standard deviation and t-test.   The research findings revealed that: The mathematics exercises on addition, subtraction, multiplication and division of integers for the 1st year secondary students with cooperative learning (TAI) approach was efficient 82.40/76.53 and based on 75/75 criteria.The mathematics learning achievement on addition, subtraction, multiplication and division of integers of the 1st year secondary students after studying by using the mathematics exercises with cooperative learning (TAI) approach was higher than before, at .01 level of significance.The mathematics learning achievement on addition, subtraction, multiplication and division of integers of the 1st year secondary students after studying by using the mathematics exercises with cooperative learning (TAI) approach was higher than 70 percentage, at .01 level of significance.The satisfaction towards the cooperative learning (TAI) approach by using the mathematics exercises on addition, subtraction, multiplication and division of integers of the 1st year secondary students was at a high level. Keywords : The Mathematics Exercises, The Cooperative Learning (TAI), Learning Achievement Integers

Article Details

How to Cite
เปรมปรีดิ์ ป., แซ่ลี้ ส., ศิริพละ ว., แก้วเนียม ม., & เฟื่องฟู พ. (2018). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11043
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)