ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คลิกเกอร์ เนื้อหาวิชา และผู้สอน กับความสนุกในการเรียน และการทุ่มเทในการเรียนของนิสิตในวิชามนุษยสัมพันธ์

Main Article Content

พรรณระพี สุทธิวรรณ
เรวดี วัฒฑกโกศล

Abstract

การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คลิกเกอร์ เนื้อหาวิชา และผู้สอน กับความสนุกในการเรียนและการทุ่มเทในการเรียนของนิสิต และศึกษาความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับการใช้คลิกเกอร์ในวิชามนุษยสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีจำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการทุมเทในการเรียน แบบสอบถามความสนุกในการเรียนและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนุก และแบบประเมินความคิดเห็นในการใช้คลิกเกอร์  ผลการวิเคราะห์ path analysisพบว่า 1.การใช้คลิกเกอร์ช่วยให้นิสิตเกิดความสนุกในการเรียน (β=.68, p<.01) แต่ไม่ได้ช่วยให้เกิดการทุ่มเทในการเรียน 2. เนื้อหาวิชาที่สอนช่วยให้นิสิตเกิดการทุ่มเทในการเรียน (β=.12, p<.05) แต่ไม่ได้ช่วยให้สนุกกับการเรียน 3. ผู้สอน คือ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้นิสิตเกิดทั้งความสนุกในการเรียน (β=.09, p<.05) และการทุ่มเทในการเรียน (β=.24, p<.01) 4. ความสนุกในการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการทุ่มเทในการเรียน จึงไม่เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการใช้คลิกเกอร์ เนื้อหาวิชาที่สอน หรือผู้สอน ไปยังการทุ่มเทในการเรียน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้การเรียนนั้นน่าสนใจเพียงใด ผู้สอน ก็ยังถือเป็นปัจจัยหลักที่ควรต้องให้ความสำคัญอย่างสูงในการจัดการเรียนการสอน เพราะหากผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำนวัตกรรมคือ คลิกเกอร์ไปใช้ในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่สอน ก็จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอนที่ทำให้นิสิตทั้งรู้สึกสนุกสนานในการเรียนและทุ่มเทในการเรียนมากยิ่งขึ้น จากการวิเคราะห์เนื้อหา ความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับการใช้คลิกเกอร์ในวิชามนุษยสัมพันธ์พบว่านิสิตเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 99.30 พึงพอใจกับการใช้คลิกเกอร์ในการเรียนการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ และได้ระบุข้อดีของการใช้คลิกเกอร์ ถึง 10 ด้าน กล่าวโดยรวมคือ คลิกเกอร์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายสะดวกและทันสมัยสามารถจูงใจให้นิสิตเข้าห้องเรียนและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้นกล้าตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นมากขึ้นรวมทั้งได้รับข้อมูลป้อนกลับจากผู้สอนอย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบความเข้าใจของตนเองเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ ได้ทันทีในห้องเรียน  The purpose of this study was to examine the associations of clicker, course materials, and instructor with study enjoyment and study engagement of students, as well as their opinions of clicker use in the large classroom. Participants were 448 undergraduate students in Human Relations class. Research instruments were Study Engagement Scale, Study Enjoyment Scale, and Survey of Clicker Usage Opinion.  The Path analysis revealed significant results as follows; 1. Clicker significantly enhanced study enjoyment (β=.68, p<.01), but not study engagement. 2. Course materials significantly enhanced study engagement (β=.12, p<.05), but not study enjoyment. 3. Instructor significantly enhanced both study enjoyment (β=.09, p<.05) and study engagement (β=.24, p<.01). 4. Study enjoyment was not related to study engagement, thus, indicating that the relationships between the predictors (i.e., clicker, course materials, instructor) and study engagement were not mediated by study enjoyment. Results of this study emphasized the significant role of “Instructor” in classroom since the effective instructor could always integrate both the learning innovation technology and the course materialto create efficient learning atmospheres in classroom. Subsequently, this will enhance study enjoyment and engagement for students effectively. Students’ opinions revealed that most of them (99.3%) were satisfied with the clickers’ use in class. Among 10 positive aspects of clickers were; user friendly, pedagogically-advanced technology, enhancing and motivating students’ participation, enabling immediate feedback from instructors, as well as students’ opportunity to promptly check their level of understanding compared to their peers.  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สุทธิวรรณ พ., & วัฒฑกโกศล เ. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้คลิกเกอร์ เนื้อหาวิชา และผู้สอน กับความสนุกในการเรียน และการทุ่มเทในการเรียนของนิสิตในวิชามนุษยสัมพันธ์. บรรณศาสตร์ มศว, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/9943
Section
Research Articles