ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศ: กรณีศึกษานักศึกษาอาเซียนในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศและคุณภาพของสารสนเทศสำหรับความสำเร็จในการเรียนวิชาต่างๆ ของนักศึกษาอาเซียน 2) ทดสอบปัจจัยที่สามารถอธิบายความผันแปรร่วมการรับรู้การเลือกแหล่งสารสนเทศ และคุณภาพของสารสนเทศของนักศึกษาอาเซียนกับความถี่การเลือกใช้แหล่งสารสนเทศ และ 3) เสนอตัวแบบพัฒนาพฤติกรรมการเลือกแหล่งสารสนเทศและคุณภาพของสารสนเทศของนักศึกษาอาเซียน ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 287 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุเพื่อการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาอาเซียนเลือกแหล่งอินเทอร์เน็ตมากกว่าแหล่งสารสนเทศอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความสะดวกสูงที่สุด การรับรู้การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศในด้านความสะดวกและความง่ายต่อการเข้าถึง เป็นปัจจัยที่สำคัญมากกว่าการรับรู้คุณภาพของสารสนเทศในด้านความสอดคล้อง และ ความเชื่อถือได้ สำหรับการตัดสินใจเลือกแหล่งสารสนเทศเพื่อความสำเร็จการเรียนของนักศึกษาอาเซียน 2) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าตัวแปรอิสระทั้งสี่ตัวแปร ได้แก่ ความสะดวก ความง่ายต่อการเข้าถึง ความสอดคล้อง และความเชื่อถือได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถอธิบายความแปรผันร่วมทั้งหมดของตัวแปรตามความถี่รวมการเลือกแหล่งสารสนเทศของนักศึกษาอาเซียนระดับบัณฑิตศึกษาได้ถึง 65 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นอกจากนี้ความสะดวกและความง่ายต่อการเข้าถึง เป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายการรับรู้การเลือกแหล่งสารสนเทศของนักศึกษาอาเซียนกับความถี่การเลือกใช้แหล่งสารสนเทศได้มากกว่าตัวแปรความสอดคล้องและความเชื่อถือได้และ 3) กรอบแนวคิดและตัวแบบใหม่พัฒนาสำหรับพฤติกรรมสารสนเทศการเลือกแหล่งสารสนเทศและคุณภาพของสารสนเทศของนักศึกษาอาเซียนThe aims of this research are 1) to investigate factors affecting the selection of information sources and quality of information of Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) students for their success in learning, 2) to examine how these factors can influence ASEAN students’ perceived source accessibility and perceived information quality on the frequencies of the selection of information sources, and 3) to propose a theoretical model developed for the selection of information sources and quality of information of ASEAN students. The samples of this research are 287 ASEAN students selected through stratified random sampling. This study employs a web-based survey to collect data. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzes the data collected in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation. A multiple linear regression technique is also employed to test research hypotheses at a statistically significant level of .05. The research findings are as follows: 1) ASEAN students select Internet sources more than other sources. The Internet has the highest means for its convenience. The perceived source accessibility (convenience and ease of use) is more important factor than the perceived information quality (relevance and reliability) in determining how ASEAN students select information sources for their learning. 2) Results of testing a multiple linear regression model of all five information sources show that these four independent variables (convenience, ease of use, relevance, and reliability) are important factors able to explain 65% of the total variance in the frequency of the use of information sources. These four variables are at a statistically significant level of .05. Furthermore, convenience and ease of use are important variables able to increase ASEAN students’ perceived source accessibility and explain the variance in the frequency of the use of sources more than relevance and reliability, and 3) Conceptual framework and a new model developed for the selection of information sources and quality of information of ASEAN students.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
เอ้งฉ้วน ภ. (2018). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งสารสนเทศ: กรณีศึกษานักศึกษาอาเซียนในประเทศไทย. บรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 191–208. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/10146
Section
Research Articles