แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 GUIDELINES FOR DEVELOPING INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BANGKOK 1

Main Article Content

วิศิษฏ์ มาแย้ม
ธดา สิทธิ์ธาดา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จํานวน 59 แห่ง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูล สถานศึกษาละ 3 คนประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และ 3) ครูสายงานการสอนรวมทั้งสิ้น จำนวน 177 คน และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กําหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เพื่อกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษาอย่างเหมาะสมตามจุดเด่นของสถานศึกษา 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสรรทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในปฏิบัติงาน 3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร และพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา 4) ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารมีการตั้งเป้าหมายขององค์กรและมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนที่สามารถถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติงานสู่บุคลากรได้ และ 5) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงนวัตกรรม ผู้บริหารสร้างค่านิยมในองค์กรที่มีอัตลักษณ์ขององค์กรชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวของบุคลากร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มาแย้ม ว., & สิทธิ์ธาดา ธ. . (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1: GUIDELINES FOR DEVELOPING INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE BANGKOK 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 178–192. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16242
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ. https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญญบุรี.

ปิยาภรณ์ พลเสนา (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6 (1), 211.

ปิยโชติ รอดหลง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชญะ ประทุมมา. (2566). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 17 (2), น.276.

ศิริพร พงษ์เนตร. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญญบุรี.

สุริยา สรวงศิริ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิรักษ์ บุปผาชื่น. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม: การขับเคลื่อนองค์การสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4 (3), 205-216.

เอมจิตร สมสืบ. (2561). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา : การพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตตีพิมพ์] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย.

อำพร เรืองศรี. (2551). ระบบการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 28, 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/174101