ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโตที่มีต่อ พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย EFFECTS OF HEALTH EDUCATION LEARNING MANAGEMENT USING GROWTH MINDSET CONCEPTS ON DESIRABLE SEXUAL BEHAVIORS AND RESPECTFULNESS OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Main Article Content

สุวิจักขณ์ พลเดช
รุ่งระวี สมะวรรธนะ
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และคะแนนการเคารพหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive selection) สุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก (Simple random sampling) เป็นนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปกติจำนวน  30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.87 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ จำนวน 2 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.94 และ 1 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยง 0.86 และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ กลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พลเดช ส. ., สมะวรรธนะ ร. ., & วัฒนบุรานนท์ เ. (2024). ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดกรอบคิดติดยึดเติบโตที่มีต่อ พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และการเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: EFFECTS OF HEALTH EDUCATION LEARNING MANAGEMENT USING GROWTH MINDSET CONCEPTS ON DESIRABLE SEXUAL BEHAVIORS AND RESPECTFULNESS OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 140–155. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16145
Section
บทความวิจัย (Research Articles)
Author Biographies

รุ่งระวี สมะวรรธนะ, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาสุขศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งระวี สมะวรรธนะ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาสุขศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร. เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      

References

กรมควบคุมโรค. (2564). โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. https://ddc.moph.go.th/das/journal_detail.php?deptcode=das&publish=das

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). "เพศศึกษา" ไทยก้าวหน้าหรือถอยหลัง เรื่องที่โรงเรียนอาจสอนไม่ครบ. สืบค้นจากhttps://www.bangkokbiznews.com/social/962091

พรรณภา ส่งแสงแก้ว (2562).การพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตในทักษะการสื่อสารด้านการพูดเพื่อการนำเสนอ 1. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น, ขอนแก่น

พระธีทัต กิตฺติวณฺโณ (2560). ศึกษาการเสริมสร้างพฤติกรรมการแสดงการเคารพของเยาวชนบ้านศิริพร ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์

มุทิตา อดทน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี

รายงานสุขภาพคนไทย 2563. (2563). พฤติกรรมทางเพศ https://www.thaihealthreport.com/th/report_health.php?id=1

วชิราภรณ์ บุปผาชาติ และคณะ (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันที่มีต่อคุณลักษณะกรอบคิดติดยึดเติบโต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(2), 302- 317. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/252161/172605

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2562, มกราคม-มิถุนายน). การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทางความคิดเพื่อการเติบโต. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ 6(1), 52-60. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/150041/132212

วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์, วัลภา สบายยิ่ง และจิระสุข สุขสวัสดิ์ (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. สืบค้นจากhttps://opac01.stou.ac.th/multim/thesis/2561/160924/fulltext_160924.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2563). ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset). สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-49/

สำนักข่าวไทย. (2565). เปิดสถิติหญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ.-กระทำรุนแรง มากกว่า 7 คน/วัน. https://www.tcijthai.com/news/2022/3/current/12248

สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2565). พยากรณ์โรคฯ. กรมควบคุมโรค ฉบับที่ 5/2565 https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=23335&deptcode=brc&news_views=283

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. https://rh.anamai.moph.go.th/th

สุภาพร สมบัติ (2565). การศึกษาความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตสำหรับวัยรุ่น อายุ 10 - 19 ปี (Sexuality Education Literacy and Life Skills Among Teenagers aged 10-19 years). สืบค้นจาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=211675&id=98256&reload=.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House. Retrieved from https://docs.lib.purdue.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1013&context=giftedchildren

Dweck, C. S. (2012). Mindset: How you can fulfill your potential. New York: Constable & Robinson Limited.

World Health Organization (2020). Adolescent Pregnancy. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

World Health Organization (2023). Sexually transmitted infections (STIs). Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sexually-transmitted-infections-(stis)