มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติกับการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา THE NATIONAL RESEARCH UNIVERSITIES WITH REINVENTING UNIVERSITY

Main Article Content

จงลักษณ์ เมอริดิธ
ปองหทัย พึ่งนุ่ม
ดวงใจ ชนะสิทธิ์
อรพรรณ ตู้จินดา

Abstract

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติกับการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2564 ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา โดยให้มีการจัดอยู่ในกลุ่มที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ และ 2) เพื่อนำเสนอผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ดังนั้น การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า 1. การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2564 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก “มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ” เปลี่ยนเป็น “กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก” และจัดอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 1 คือ มี พันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่การวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามาถแข่งขันในระดับนานาชาติ และ 2. ผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564  ได้แก่ 1) งานวิจัยที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและการผลิตนักวิจัยในหลายกลุ่มสาขาวิชา อาจทำให้การประเมินคุณภาพ กำกับ ดูแล ติดตาม ขาดประสิทธิภาพและไม่ทันเหตุการณ์  2) งบประมาณ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นน้อยมากหรือไม่เท่ากัน 3) อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยที่ใช้ในการวิจัยขั้นสูงมีไม่เพียงพอ และ 4) คุณภาพชีวิตการทำงานกับความสมดุลของชีวิตส่วนตัวของอาจารย์และนักวิจัยลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เมอริดิธ จ. ., พึ่งนุ่ม ป. ., ชนะสิทธิ์ ด. ., & ตู้จินดา อ. . (2024). มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติกับการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา: THE NATIONAL RESEARCH UNIVERSITIES WITH REINVENTING UNIVERSITY. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 243–257. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16128
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก, 58).

พระราชบัญญัติกฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564. (2564, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 138 ตอนที่ 21 ก, 1).

พระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 135, ตอนที่ 82 ก, 33).

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง กำหนดปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน พ.ศ. 2564. (2564, 30 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 144 ง, 2).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษา ระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานบริหารงานวิจัย. (2567). The World University Ranking 2024. (2024). ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2567, จาก https://ora.oou.cmu.ac.th.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2562). นโยบายการดำเนินงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผน. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2566). การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Cichanowicz, L. (2016). A Brief History of Berlin’s free University. Retrieved 21 January 2019, from https://theculturetrip.com.

Orgera, K. E. (2018). A Brief History of Johns Hopkins University. Retrieved 22 January 2019, from https://theculturetrip.com.