การศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู ในสังคมยุคหลังสมัยใหม่ (ดิจิทัล) COLLABORATION BETWEEN PRODUCTIVE INSTITUTIONS AND INSTITUTIONS USE TEACHERS IN TEACHING AND LEARNING INNOVATION DEVELOPMENT TO ENHANCE THE TEACHER SPIRITUALITY IN THE POST-MODERN (DIGITAL) SOCIETY

Main Article Content

ภาราดา สังข์ทอง
สมยงค์ สีขาว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการสร้างความร่วมมือ ปัญหาและอุปสรรคของร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 2) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู  3) ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูของนักศึกษาวิชาชีพครูในการเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยและพัฒนา (Research & Development)  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู ผู้บริหารองค์กรผลิตครู อาจารย์ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน และนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็น 2) แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) แบบประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน 4) แบบบันทักการสะท้อนคิดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณ ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1พบว่า ความต้องการสร้างความร่วมมือ ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนบุคลากรในการปฏิบัติงานร่วมกัน 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม 3) การร่วมมือพัฒนาหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูร่วมกัน  4) การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาและการพัฒนาผลงานทางวิชาการ โดยมีรูปแบบความร่วมมือที่สำคัญ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1)  เครือข่ายทางวิชาการ 2)  ความร่วมมือแบบไม่เป็นทางการ 3)  รูปแบบเชิงปฏิบัติการ  4)  ความร่วมมือแบบพันธะสัญญา ด้านปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือระหว่างองค์กร ได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  2) ลักษณะวิถีชีวิตของบุคคลในการปฏิบัติงาน  3) การตระหนักในคุณค่าของเวลาแตกต่างกัน 4) ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และ 5) มีวิสัยทัศน์และนโยบายการสร้างความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 นวัตกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาของนักศึกษาชีพครู นวัตกรรมในลักษณะกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า “SPIRITUALITY’s TEACHER” ซึ่งขั้นตอน การจัดกิจกรรมตามลักษณะของนวัตกรรมมุ่นเน้นให้ฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิด ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ 2) ขั้นตอนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด ความรู้สึก 3) ขั้นตอน การประเมินประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ 4) ขั้นตอนการวิเคราะห์กรอบความคิด ความรัก ความศรัทธาในวิชาชีพครู 5) ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู 6) ขั้นตอนการสรุปผลและแบ่งปันการเรียนรู้ 7) ขั้นตอนบูรณาการความรู้สู่ชีวิตประจำวัน 8) ขั้นตอนประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้  ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน มีผลการประเมินในเกณฑ์ดีที่สุด ในภาพร่วมอยู่ระหว่างคะแนน  4.60–4.88  ส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลลัพธ์การเรียนรู้ และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.005)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สังข์ทอง ภ., & สีขาว ส. (2024). การศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กรผลิตครูและองค์กรใช้ครูในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู ในสังคมยุคหลังสมัยใหม่ (ดิจิทัล): COLLABORATION BETWEEN PRODUCTIVE INSTITUTIONS AND INSTITUTIONS USE TEACHERS IN TEACHING AND LEARNING INNOVATION DEVELOPMENT TO ENHANCE THE TEACHER SPIRITUALITY IN THE POST-MODERN (DIGITAL) SOCIETY. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 82–102. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16121
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ : วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1): 1-17.

ราตรี บุญโท, สุนทรา โตบัว, และชนิศวรา เลิศอมรพงษ์. (2560). การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึกการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม.13(1): 222-235.

ดวงทิพย์ วิบูลย์ศักดิ์ชัย. (2555). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท. 46(209): 40-45.

พิศิษฐ์ พลธนะ, นภดล เลือดนักรบ และภราดร ยิ่งยวด. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำนักศึกษา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(ฉบับพิเศษ): 42-51.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2563). ความคิดเห็นประชาชนในเรื่อง “ครูอนุบาล/ครูพี่เลี้ยง/ครูผู้ดูแลเด็ก”. สืบค้นเมื่อ กันยายน 16, 2564, จาก https://www.bltbangkok.com/poll/29670/.

รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และคณะ. (2560). การวิเคราะห์สภาพปัญหา ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ในการผลิตครูของประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา. 11(2): 255-270.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Kruse, K. (2009). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved June 20, 2022, from http://www.transforma tile designs. com/id_systems.html.

Lattipongpun. (2016). The Impact of Mental Thinking Systems on Idea Generation: The Athens Olympic Ceremony. Retrieved February 3, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/303099467_The_Impact_of_Mental_Thinking_Systems_on_Idea_Generation_The_Athens_Olympic_Ceremony.

Merriam. (2017). Adult Learning Theory: Evolution and Future Directions. Retrieved June 20, 2022, from file:///C:/Users/Administrator/Downloads /Merriam% 20(1).pdf.

Mohanty, B. (2022). Spiritual Development and the Preparation of Teachers. Retrieved June 20, 2022 from

https://doi.org/10.1093/acrefore /978019026 4093.013.816

Paridinova & et al. (2023, March 20 ). Future Teachers’ Spiritual Worldview Formation Factors. Retrieved March 20, 2024, from Hindawi: https://doi.org/10.1155 /2023/9972903.

Rozalina, E. (2019, October 22). Spirituality in Pedagogy A Qualitative Study of Teachers Values in High School. Retrieved March 20, 2023, from https://eudl.eu/doi/10.4108/eai.30-9-2019.2291169.

State Services Commission. (2008). Factors for Successful Coordination-A Framework to Help State Agencies Coordinate Effectively. New Zealand: Wellington.

Stufflebeam, D. and Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models & Applications. Journal of Multi Disciplinary Evaluation. 6(11): 109 - 111.