ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 FACTORS AFFECTING LEARNING MANAGEMENT IN SCIENCE OF PRE-SERVICE SCIENCE TEACHER AFTER THE PANDEMIC OF COVID-19

Main Article Content

กติญา บุญสวน

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ และศึกษาแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยกลุ่มที่ศึกษา คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 34 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คือผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากช่วงการเรียนแบบออนไลน์ ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากการเรียนรู้แบบออนไลน์ส่งผลให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ทางเดียว จึงทำให้ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น นักศึกษาไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามในเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ รวมถึงขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และเพื่อนในชั้นเรียนไปอีกด้วย ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ทั้งระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง หรือนักศึกษากับผู้สอนให้มากที่สุด เพราะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ การทำงานเป็นทีมคือสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญสวน ก. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19: FACTORS AFFECTING LEARNING MANAGEMENT IN SCIENCE OF PRE-SERVICE SCIENCE TEACHER AFTER THE PANDEMIC OF COVID-19. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 35–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16117
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กนกวรรณ สุภาราญ. (2563). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372

ฉัตรมงคล สีประสงค์ และณมนรัก คําฉัตร. (2564). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงสำหรับนักศึกษาครูสาขาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5B model ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 4(2). 217-229.

ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). นิวนอร์มอลของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/ 05/desirable-new-normal-for-thailand-education/

นันท์นลิน สีแก่นวงค์ และอาภรณ์ สอาดเอี่ยม. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 32-48.

สิริรัตน์ ช่อฉาย. (2564). ศึกษาพฤติกรรมชีวิตวิถีใหม่ของนักเรียนในช่วงสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร าไพพรรณี (ออนไลน์), 2(1). 1-14.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3). 783-795.

พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต) และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143-154.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์ โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2566). ทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3),125-136.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ และอรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์. (2565). ปัญหาและความท้าทายในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้ประสบความสําเร็จ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 5(1), 172-180.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2561). งานวิจัยเชิงคุณภาพ: กระบวนทัศน์ที่แตกต่างและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1). 272-283.

สุภัค ฟักเงิน และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15(3). 223-235.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุคNEW NORMALCOVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(40). 33-42.

อริย์ธัช สมโชค และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2566). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศอุทิศ). Journal of Modern Learning Development, 6(5), 194-208.

Allison J. G., Emily D. S., & Dawn W.. (2021). Teaching Novice Science Teachers Online: Considerations for Practice-Based Pedagogy. LEARNing Landscape. 14(1). 111-123.

Hasnan B. (2020). Determinants of Students’ Perceived Learning Outcome and Satisfaction in Online Learning during the Pandemic of COVID19. Journal of Education and e-Learning Research, 7(3), 285-292.

Nathan R. D., Patricia B., & Peter S. (2020). Maintain Scientific Inquiry In Online Education. Science Inquiry in Online Education. 5(3). 14-25.

Piriyakorn K. & Sudaporn S. (2022). Empirical analysis of factors influencing student satisfaction with online learning systems during the COVID-19 pandemic in Thailand. Journal of Science and Science Education, 5(1), 1-8.