ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 EFFECTS OF BLENDED LEARNING BY LEARN EDUCATION ON MATHEMATICAL ACHIEVEMENT OF NINTH GRADE STUDENTS

Main Article Content

วนัชพร ถาวรสมสุข
วันนิภา วันนิวาส
งามพร้อม อ่อนบัวขาว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education และ แบบปกติ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education จำนวน 136 คน และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ผลการตรวจสอบคุณภาพพบว่า ด้านความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ด้านความเที่ยงมีค่าความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (α > 0.7)  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Gain Score) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education จากทั้งหมด 136 คน มีพัฒนาการระดับต้นจำนวน 39 คน ระดับกลางจำนวน 39 คน ระดับสูงจำนวน 36 คน และ ไม่มีพัฒนาการจำนวน 22 คน และมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ถาวรสมสุข ว., วันนิวาส ว., & อ่อนบัวขาว ง. (2024). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดย Learn Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : EFFECTS OF BLENDED LEARNING BY LEARN EDUCATION ON MATHEMATICAL ACHIEVEMENT OF NINTH GRADE STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 98–109. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15829
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). ลายแทงนักคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซัคเซสมีเดีย.

โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถวิล อรัญเวศ. (2560). สาเหตุที่นักเรียนมีคะแนนผลสอบ O-NET ต่ำและแนวทางการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ O-NET. http://www.gotoknow.org/posts/599289

ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. 2556. การพัฒนาอีเลิร์นนิ่งผสมผสานเรื่อง การซ่อมและประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาวิชาโปรแกรมเทคโนโลยีการศึกษา สารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 9(4): 21-28.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2551). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน(O-NET).

อภิชาติ อนุกูลเวช. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิคบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. (ปริญญานิพนธ์กศ.ด.), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

กรุงเทพฯ.

Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. http://www.testden.com/partner/blended%20learn .html

Consultancy.uk. (2015). Generation Y less satisfied than other generations. https://www.consultancy.uk/ news/2061/generation-y-less-satisfied-than-other-generations

Driscoll, M. (2002). Blended learning: Let’s get beyond the hype. E-learning, 1(4), 1-4.

Farrell, W. C., & Phungsoonthorn, T. (2020) Generation Z in Thailand. International Journal of Cross Cultural Management, 20(1), 25-51. https://doi.org/10.1177/1470595820904116

Graham. C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf.

Garnham, C., & Kaleta, R. (2002). Introduction to hybrid courses. Teaching with technology today, 8(6). http://dx.doi.org/10.1016/j.iree.2013.10.009

Horn. B.M. and Staker. H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Infosight Institute.

Li, S., & Wang, W. (2022). Effect of blended learning on student performance in K-12 settings: meta-analysis. Journal of Computer Assisted Learning, 38(5), 1254–1272. https://doi.org/10.1111/jcal.126961272LIANDWANG

Rasheed Abubakar Rasheed, Amirrudin Kamsin, Nor Aniza Abdulla. (2020). Challenges in the online component of blended learning: a systematic review. Computers &Education,144, 103701. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2019.103701.

Rothman, D. (2016). A tsunami of learners called Generation Z Model. https://mdle. net/Journal_A_Tsunami_of_Learners_Called_Generation_Z.pdf

Shuqin, L.,&Weihua, W. (2021). Effect of blended learning on student performance in K-12 settings: A meta-analysis. Journal of Computer Assisted Learning, 38(5). 1254-1272.

Singh, H. (2003). Building Effective Blended Learning Programs. Educational Technology, 43(6), 51-54. https://doi.org/10.4018/978-1-7998-7607-6.ch002