การเสริมสร้างความเข้าใจของนักเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย ชุดการทดลองเคมีย่อส่วน เรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีย้อม ENHANCING STUDENTS’ UNDERSTANDING OF CHEMICAL RATE REACTION BY USING A SMALL-SCALE CHEMISTRY EXPERIMENTAL KIT ON THE BLEACHING OF FOOD DYE

Main Article Content

บัญชา ก้อนทรัพย์
เอมอร ศักดิ์แสงวิจิตร

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความเข้าใจ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยกิจกรรมการทดลองเรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีผสมอาหารโดยใช้ชุดการทดลองเคมีย่อส่วนร่วมกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนติดตามการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลาย กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 45 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การออกแบบการทดลองใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยชุดการทดลองเคมีย่อส่วน แบบทดสอบวัดความเข้าใจเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ชุดการทดลองเคมีย่อส่วน ตามระดับของลิเคิร์ท การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 60.00 มีพัฒนาการความเข้าใจในเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีระดับกลาง และนักเรียนร้อยละ 28.89 มีพัฒนาการความเข้าใจในระดับสูง นักเรียนมีระดับพัฒนาการความเข้าใจที่สูงขึ้นอย่างมากในเรื่องปัจจัยการเกิดปฏิกิริยาเคมีหลังทำการทดลองด้วยชุดทดลอง จากแบบสอบถามนักเรียนมีความพึงพอใจอย่างมากในการใช้ชุดทดลองเคมีย่อส่วน (ค่าเฉลี่ย 4.71 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และเห็นว่ากิจกรรมการทดลองเรื่องปฏิกิริยาการฟอกจางสีผสมอาหารช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยา และปัจจัยการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ค่าเฉลี่ย 4.62 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53)
 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ก้อนทรัพย์ บ. ., & ศักดิ์แสงวิจิตร เ. . (2023). การเสริมสร้างความเข้าใจของนักเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วย ชุดการทดลองเคมีย่อส่วน เรื่อง ปฏิกิริยาการฟอกจางสีย้อม : ENHANCING STUDENTS’ UNDERSTANDING OF CHEMICAL RATE REACTION BY USING A SMALL-SCALE CHEMISTRY EXPERIMENTAL KIT ON THE BLEACHING OF FOOD DYE. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 110–125. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15265
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กุมารินทร์ ชาลีแสน, สุภาพ ตาเมือง, ปุริม จารุจำรัส, มะลิวรรณ อมตธงไชย และ เสนอ ชัยรัมย์. (2559). การสาธิตทดลองสารกำหนดปริมาณโดยใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 147-159.

วรันภัทร รัตนการุณจิต, รัฐพล มีลาภสม, ศักดิ์ศรี สุภาษร และ ปุริม จารุจํารัส. (2563). การใช้สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางสีสําหรับการหาปริมาณไอออนเหล็กในนํ้าโดยใช้แอนโทไซยานินเป็นรีเอเจนต์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1,หน้า 144-163.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, หน้า 180.

สุภาพ ตาเมือง, กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2560). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะ. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 8-13.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 266-268.

Arce, J., Betancourt, R., Pijem, J. and Rivera, Y. (1998). The Reaction of a Food Colorant with Sodium Hypochlorite: A Student-Designed Kinetics Experiment, J. Chem. Educ, Vol. 75, 1142-1144.

Caraballo, R. M., Gomez, S. G. J., Hamer, M., Medina, L. M. S. and Vensaus P. (2021). Turmeric and RGB Analysis: A Low-Cost Experiment for Teaching Acid–Base Equilibria at Home, J. Chem. Educ. Vol 98, 958-965.

Destino, J, F. and Cunningham, K. (2020). At-Home Colorimetric and Absorbance-Based Analyses: An Opportunity for Inquiry-Based, Laboratory-Style Learning, J. Chem. Educ, Vol. 97, 2960-2966.

Ed Vitz. (2007). A Student Laboratory Experiment Based on the Vitamin C Clock Reaction, J. Chem. Educ, Vol 84, 1156-1157.

Rattapol, M., Waranphat R., Akarapong, P., Nutthaporn, M., Saksri, S., Sukhum, R., and Purim J. (2022). Smartphone-Assisted Colorimetric Determination of Iron Ions in Water by Using Anthocyanin from Ruellia tuberosa L. as a Green Indicator and Application for Hands-on Experiment Kit, J. Chem. Educ. Vol 99, 1660-1671.

Saowarux, F., Wanlapa, A., Vanida, N., Pritsana, R. and Pumidech, P. (2023). From In-Class Experiments to Lab@Home for General Chemistry Laboratory: Hands-On Experiences During the Pandemic Lockdown, J. Chem. Educ, Vol 100, 655-663.

Thitipong, K. and Taweetham, L. (2020). The Blue Bottle Experiment Revisited: How Much Oxygen?, J. Chem. Educ. Vol 97, 1198-1202.