การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา THE CURRICULUM EVALUATION OF BACHELOR DEGREE OF EDUCATION IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION PROGRAM 4 YEARS (CURRICULUM REVISED IN 2019) FACULTY OF EDUCATION , BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY

Main Article Content

พรรษา ตระกูลบางคล้า
นัยทิพย์ ธีรภัค
วิมลัก สรรคพงษ์
จุฬารัตน์ รุณจักร
ญาณิกา สกุลกลจักร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)  โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model และศึกษาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลงานวิจัย คืออาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหารโรงเรียน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ได้มาจากการใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)  พบว่า 1) ด้านบริบทหลักสูตร (C) พบว่าด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องตามความมุ่งหมายทางการศึกษา และความต้องการของสังคมปัจจุบัน และสามารถนำไปปฏิบัติได้  ควรเพิ่มสมรรถนะที่สามารถนำไปปฏิบัติกับความต้องการของสังคม 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (I) ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านคุณสมบัติผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอาจารย์  และด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.55, 4.48 และ 4.34 ตามลำดับ 3) ด้านกระบวนการ (P) ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยประเด็นด้านกระบวนการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.45 4.37 และ 4.27 ตามลำดับ 4) ด้านผลกระทบ (I) พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านประสิทธิผล (E) ด้านความยั่งยืน (S) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T) ครูพี่เลี้ยงมีความเห็นว่าอยู่ในระดับมากที่สุด นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และผู้บริหารโรงเรียน/หัวหน้าสายชั้นระดับอนุบาล มีความเห็นว่าอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรประกอบด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่ทันสมัยและเป็นสากลสอดคล้องกับบริบทของโลกและการเปลี่ยนแปลง การกำหนดรายวิชาที่เน้นสมรรถนะที่นำไปปฏิบัติได้จริง การปรับปรุงหน่วยกิตรายวิชาให้มีจำนวนเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ตระกูลบางคล้า พ., ธีรภัค น. ., สรรคพงษ์ ว. ., รุณจักร จ. ., & สกุลกลจักร ญ. . (2023). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 4 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : THE CURRICULUM EVALUATION OF BACHELOR DEGREE OF EDUCATION IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION PROGRAM 4 YEARS (CURRICULUM REVISED IN 2019) FACULTY OF EDUCATION , BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 31–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15155
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558, (2558, 13 พฤษจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295ง., หน้า 13.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วีพรินท์.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล,สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา,พรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมิน หลักสูตรแนวใหม่ : รูปแบบ CIPPIEST. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 203-212.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนการทัศน์ใหม่ในการพัฒนาการหลักสูตร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์หมาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ศูนย์นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP และ CIPIEST Evaluation Models. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 7-24.

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). กทม. : ม.ป.ท.

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์. (2564). รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

เสริมศรี ไชยศร, สุรพล บัวพิมพ์, สุนทรี คนเที่ยง (2543). หลักเกณฑ์และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ในระดับปริญญาตรี : รายงานการวิจัย. เอกสาร .ทบวงมหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน

กราฟฟิค จำกัด.

สุทธนู ศรีไสย์. (2549). การจัดการและการวางแผนพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wynne,E.A. and Ryan, K. (1993). Reclaiming our Schools : A Handbook on Teaching Character, Academics, and Discipline. New York: Macmillan.