ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ และทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 THE EFFECTS OF FLIPPED CLASSROOM TEACHING ON ECONOMIC LITERACY AND PROBLEM-SOLVING SKILLS OF NINTH GRADE STUDENTS

Main Article Content

ชยพร พันทอง
กานต์รวี บุษยานนท์
กิตติศักดิ์ ลักษณา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของทักษะการคิดแก้ปัญหา ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจในสาระเศรษฐศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .65 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ .33-.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .23-.65 2) แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาในสาระเศรษฐศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น .69  และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีพัฒนาการของคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้น ในวิชาสังคมศึกษาฯ สาระเศรษฐศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยภาพรวม และรายด้านสูงขึ้นตามลำดับ ระยะเวลาการวัดผลทั้ง 8 ครั้ง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พันทอง ช., บุษยานนท์ ก. ., & ลักษณา ก. . (2023). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ และทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: THE EFFECTS OF FLIPPED CLASSROOM TEACHING ON ECONOMIC LITERACY AND PROBLEM-SOLVING SKILLS OF NINTH GRADE STUDENTS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 75–89. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/14856
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2565, จาก http://www.sea2.go.th/ict/images/-

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2561). ความฉลาดรู้เรื่องเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: เดลินิวส์.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์, และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(2): 9-17.

ทรงธรรม ปิ่นโต และคณะ. (2563). เศรษฐศาสตร์...เล่มเดียวอยู่ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธัญลักษณ์ ละอองแก้ว. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

พงศธร จันเจียวใช้. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการ-เรียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับ-ทาง รายวิชา ส31102สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พาขวัญ ศรีธรรมชาติ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

มนตรี เฉกเพลงพิน. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Share. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65): 19-27.

วัฒนชัย วินิจจะกูล. (2557). รวมมิตร คิด เรื่อง การเรียนรู้ ประสบการณ์ภาคปฏิบัติจากคนยุคอนาล็อกถึงชนรุ่นดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการ ทดสอบ O- NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามสาระการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2565, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking : HOT-PRB). สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 12, 2565, จาก https://cbethailand. com/หลักสูตร/หลักสูตรฐานสมรรถนะ/สมรรถนะหลัก-5-ประการ/สมรรถนะการคิดขั้นสูง/นิยาม/

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เทคนิค

พริ้นติ้ง.

สุมน อมรวิวัฒน์, ทิศนา แขมมณี, และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2562). ทำไมจึงต้องสร้างความฉลาดรู้: ศึกษาจากปรากฏการณ์และทำนาย อนาคต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 10, 2565, จาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom

อดิศร ภัคชลินท์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกรณีศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Banaszak. (1987). The nature of Economic literacy: ERIC digest no. 41. Washington, D.C: ERIC Clearinghouse.

Battelle for Kids. (2009). Framework for 21st Century Learning. Tucson, AZ: Author.

Duraku. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on education and wellbeing: Implications for practice and lessons for the future. Pristina: University of Pristina.

Economy. (2018). The Case for Economic Literacy for Everyone. London: Economy org.

Schleicher. (2020). The impact of COVID-19 on education - insights from education at a Glance 2020. Paris: Organization for Economic Co-operation and Development.

Stambler. (2013). Economic literacy. Retrieved February 9, 2022, from https://pier.macmillan.yale.edu/sites/default/files/files/Global%20Youth%20in%20-the%20Digital%20Age/13_%20ECONOMIC%20LITERACY.pdf

Turner. (2021). Economic literacy is important. Retrieved February 12, 2022, from https://www.northsidesun.com/editorials-opinion/economic-literacy-important#sthashzHc-zNmCB.dpbs

Walstad, Rebeck, and Butters. (2013). Test of Economic literacy (4th ed.). New York: Council for Economic Education.