แนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะสำหรับ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบและลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ ซึ่งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ การประเมินเพื่อการเรียนรู้ การประเมินขณะเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะจะหมายความถึงการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยสถาบันการศึกษาต้องมีระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผล รวมถึงการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน เนื้อหาในบทความนี้กล่าวถึงประเด็นสำหรับการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) องค์ประกอบและลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ 2) แนวทางการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะและประสิทธิภาพของการวัดผลการศึกษาด้วยระบบการศึกษาฐานสมรรถนะ และ 3) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและสมรรถนะผู้เรียน ตามลำดับ อีกทั้งยังได้ระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะไว้อย่างชัดเจน สถาบันการศึกษามีบทบาทในการกำกับติดตามการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งผู้สอนต้องทำหน้าที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รวมถึงออกแบบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่อิงสมรรถนะตามที่กำหนด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาประเทศไทยต่อไปDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ