https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/issue/feed
Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
2024-06-30T10:04:35+00:00
Dr.Somsamer Thaksin and Dr. Pinyo Wongthong
jrlrerdi@gmail.com
Open Journal Systems
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16286
ความเป็นมา
2024-06-30T09:17:51+00:00
กองบรรณาธิการ
jrlrjournal@gmail.com
<p>ความเป็นมา</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/15645
การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาในสังคมไทย
2024-02-14T02:15:55+00:00
Benjamaporn Ngamying
giftmaporn@gmail.com
Geawalin Ngampiriyakorn
geawalinngampiriyakorn@gmail.com
<p>บทความวิชาการ เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำนโยบายของ SDGs มาใช้ขับเคลื่อนประเทศไทย โดยมุ่งเป้าไปที่การวิเคราะห์การพัฒนาด้านการศึกษา ที่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนที่เป็นเด็กปฐมวัยและนักเรียนประถมศึกษา ควบคู่ไปกับการพัฒนานักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพเพียงพอในการประกอบอาชีพในอนาคต เป็นที่น่าสนใจว่าในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีบทบาทสำคัญในการสร้าง “ระบบ” การดำเนินงานเชิงนโยบาย จึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ อันจะนำไปสู่การสร้างระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินผลเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งต่อการดำเนินงานเชิงพื้นที่ระดับจังหวัด ให้เกิดการสร้าง “กลไก” การทำงานเชิงพื้นที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการศึกษา ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของ SDGs ให้เข็มแข็ง<br />โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/15822
ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่
2024-04-25T08:41:32+00:00
Wuttichai Wong-In
phikulxxk69@gmail.com
<p>ในปัจจุบันพบว่าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้นำท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีควรมีคุณลักษณะที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสาร ซึ่งการมีความรู้และมีทัศนะคติที่ดีของผู้บริหาร มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในวงกว้างแต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำท้องถิ่นบางส่วนยังมีองค์ความรู้ไม่เพียงพอในการบริหารงาน โดยเฉพาะองค์ความรู้ยุคใหม่ ส่งผลให้ทัศนคติบางประการของผู้นำไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทักษะการสื่อสารเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลให้ผู้นำท้องถิ่น สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทักษะการสื่อสารที่ดีประกอบด้วย 1) การฟังที่ดี 2) การอ่านที่ดี 3) การเขียนที่ดี และ 4) การพูดที่ดี ดังนั้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของความรู้และทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงตำแหน่งดังกล่าว อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ<br />และผู้บริหารให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของพื้นที่ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่งคงยั่งยืน</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16290
สารบัญ
2024-06-30T09:37:41+00:00
กองบรรณาธิการ
jrlrjournal@gmail.com
<p>สารบัญ</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16288
กองบรรณาธิการ
2024-06-30T09:26:26+00:00
กองบรรณาธิการ
jrlrjournal@gmail.com
<p>กองบรรณาธิการ</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16219
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในวิชาพลศึกษาที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย และการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2024-06-06T01:58:02+00:00
อรรควรรธน์ วีระเดโช
aukkawat.swu@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพ<br />ทางกายและการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบการคิดเชิงออกแบบก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาแบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 28 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 18 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่า มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 21.70 กก./ตร.ม. การทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า ดันพื้นประยุกต์ (30 วินาที) ลุกนั่ง (60 วินาที) ยืนยกเข่าขึ้นลง (3 นาที) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกรายการ การคิดเชิงออกแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ระยะสังเคราะห์ออกแบบ ระยะสร้างประสบการณ์ และระยะวิเคราะห์ถอดแบบ (2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) นั่งงอตัวไปข้างหน้า และดันพื้นประยุกต์ (30 วินาที) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญการทดสอบลุกนั่ง (60 วินาที) และยืนยกเข่าขึ้นลง (3 นาที) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะการคิดเชิงออกแบบก่อนและหลังเรียน พบว่า ระยะสร้างประสบการณ์ ระยะวิเคราะห์ถอดแบบ และระยะสังเคราะห์ออกแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/15677
การพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยรูปแบบ SIPA Model ของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชุมแพม่านชมพู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
2024-02-12T03:52:06+00:00
Pornpaka Noochan
pornpaka_1975@kksec.go.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับการอบรมพัฒนาและส่งเสริมครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ SIPA Model และพัฒนาความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) (2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) (3) เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการสอนของครูที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาที่มีต่อรูปแบบ SIPA Model เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบ การใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสะท้อนผลของครูกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาเอกสารการบันทึกภาคสนาม การบันทึกวิดีโอและการบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol analysis) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์สถิติและรายงานผลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถี่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ SIPA Model โดย พบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (x̄= 3.10, S.D. = 0.50) และคะแนนหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (x̄ = 4.17, S.D. = 0.47) ที่ได้จากการใช้แบบสอบถามชนิดลิเคอร์ท สเกลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยใช้การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (Wilcoxon signed rank test) ซึ่งมีค่า Z = -2.22 (p = 0.026) แสดงว่าครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ SIPA Model จากการได้ลงมือปฏิบัติในทุกขั้นตอนของกิจกรรม และตระหนักว่ารูปแบบ SIPA Model เป็นรูปแบบเทคนิค<br />การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยการมีส่วนร่วม 2) กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียนซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแผนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนในเชิงลึก การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เป็นไปเพื่อการสร้างที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูเปลี่ยนบทบาทของตัวเองจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประสานงาน เพื่อแนะนำและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการสอนของครูที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ผ่านนวัตกรรม SIPA Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน (x̄= 9.35, S.D. = 3.57) สูงขึ้นกว่าคะแนนก่อนเรียน (x̄= 5.20, S.D. = 2.35) 4) ความพึงพอใจของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.94 และจัดอยู่ในระดับสูงสุด</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/15884
การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีชีวิตถัดไปสำหรับหน่วยงานในระดับอุดมศึกษา
2024-06-06T03:42:46+00:00
Sawarin Nilauthai
sawarin@g.swu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัย และความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไป สำหรับหน่วยงานในระดับอุดมศึกษา และ 2) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัย ที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำแนวทางพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แลtครอบคลุมตามความต้องการของผู้ปฏิบัติ ศึกษาโดยการสำรวจ (Survey) บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายปฏิบัติการจากคณะแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling method) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอย (Multiple regression analysis) ผลการวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไปตามวงจร PDCA พบว่า การบริการจัดการงานวิจัยอยู่ในระดับชัดเจนมาก โดยขั้นตอนที่มีความชัดเจนมากที่สุด คือ (P: Plan)<br />การกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน เป้าหมายของการบริหารจัดการงานวิจัย และ (A: Act) การปรับปรุงแก้ไข คือขั้นตอนที่มีความชัดเจนน้อยที่สุด ทั้งนี้ ความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (Pre-audit) 2) การดำเนินการวิจัย (Ongoing) 3) การบริหารงานวิจัยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ (Post-audit) ทุกขั้นตอนมีความต้องการในระดับมาก โดยความต้องการพัฒนาระบบในขั้นของ Post-audit มากที่สุด ปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการ ได้แก่ ระดับการศึกษาและสถานภาพการทำงาน นอกจากนี้ การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16291
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนและการเตรียมต้นฉบับบทความ
2024-06-30T09:42:35+00:00
กองบรรณาธิการ
jrlrjournal@gmail.com
<p>คำแนะนำสำหรับผู้เขียนและการเตรียมต้นฉบับบทความ</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/erdi/article/view/16289
ถ้อยแถลงบรรณาธิการ
2024-06-30T09:31:36+00:00
กองบรรณาธิการ
jrlrjournal@gmail.com
<p>ถ้อยแถลงบรรณาธิการ</p>
2024-06-30T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024 Journal of Research for Learning Reform (วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้)