แนวทางการจัดประสบการณ์รูปแบบโครงงานเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21
Abstract
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบัน ควรมุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นในอนาคต ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของเด็กในปัจจุบัน ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากความสนใจของตัวเด็กจะช่วยเพิ่มพูนการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งคือการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นของผู้เรียน ดังนั้นควรเน้นการพัฒนาครูเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดประสบการณ์แบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เลือกในสิ่งที่สนใจ โดยเด็กวางแผนและดำเนินการทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นการเปลี่ยนจากการเรียนรู้แบบเดี่ยวเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันทำงานเป็นทีมที่เน้นการช่วยเหลือแบ่งปัน โดยมีครูเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความท้าทาย ความสนุกในการเรียนแบบโครงงานเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นครูในยุคการศึกษา 4.0 จะต้องมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบโครงการเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียนได้ ในบทความนี้ได้นำเสนอแนวทางการจัดประสบการณ์รูปแบบโครงงานเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับครูในการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ