Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

Author Guidelines

ต้นฉบับบทความต้นฉบับบทความทุกรูปแบบสามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษประกอบด้วยส่วน ได้แก่ส่วนบทคัดย่อและส่วนเนื้อเรื่องมีความยาวรวมกันระหว่าง 10-16 หน้า ทั้งนี้ ถ้าบทความใดมีความยาวมากกว่า 16 หน้า ทางกองบรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมอีกครั้งโดยจัดพิมพ์ต้นฉบับบทความด้วยโปรแกรม Microsoft Word ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK, สำหรับหัวเรื่องให้ใช้ตัวหนาขนาด 18 point ชื่อผู้เขียนขนาด 14 point สถาบันต้นสังกัดของผู้เขียนขนาด 12 point ส่วนของเนื้อหาขนาด 14 point และให้ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้วจัดเป็นคอลัมน์เดียวระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น single space โดยมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนบทคัดย่อ

1) บทคัดย่อ ประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title) ของคณะผู้วิจัย (Authors) ชื่อสถาบันและเนื้อหา (Body) พร้อมคำสำคัญ (Keywords)

2) ชื่อเรื่องความยาวไม่เกินบรรทัด ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ยกเว้นคำนำหน้านาม (article) คำบุพบท (proposition) และคำสันธาน (conjunction) ให้พิมพ์เป็นตัวพิมพ์เล็ก

3) ชื่อคณะผู้วิจัย พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 14 point ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามหรือคุณวุฒิและใส่ดอกจัน (asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้เขียนหลักหรือผู้ประสานงาน
(corresponding author) สำหรับภาษาไทยให้เว้นวรรคเคาะระหว่างชื่อผู้วิจัยและผู้วิจัยคนสุดท้ายให้ใส่ "และนำหน้าโดยไม่ต้องเว้นวรรคและสำหรับภาษาอังกฤษให้ใส่จุลภาค (Comma) หลังนามสกุลยกเว้นคนสุดท้ายให้นำหน้าด้วย "and” และไม่ต้องใช้จุลภาค หน้า " and "

4) ชื่อสถาบัน ขึ้นบรรทัดใหม่พิมพ์ด้วยอักษรขนาด 12 point หากมีมากกว่าสถาบัน ให้ใช้ตัวเลขยก (superscript) กำกับหน้าชื่อสถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกัน อีเมลของผู้เขียนหลักหรือผู้ประสานงานพิมพ์บรรทัดใหม่ใต้ชื่อสถาบันด้วยตัวอักษรขนาด 12 point

5) เนื้อหาในบทคัดย่อ ควรครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัย

และอภิปรายผล สรุปผลการวิจัย

6) คำสำคัญ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่มีจำนวนอย่างน้อย 3-5 คำ โดยใช้คำที่สื่อความหมายในการค้นอย่างชัดเจน

ส่วนเนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่องประกอบด้วยบทนำ (Introduction) วัตถุประสงค์การวิจัย (Objective) ทบทวนวรรณกรรม

(Literature review) กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Method) ผลการวิจัยและอภิปรายผล (Results and Discussion) สรุปผลการวิจัย (Conclusion) ข้อเสนอแนะ (Recommendation) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) และเอกสารอ้างอิง(References) สำหรับบทความวิชาการอาจจะมีรูปแบบการนำเสนอหรือหัวข้อที่แตกต่างออกไปตามความเหมาะสม ทั้งนี้ รายละเอียดของบทความวิจัยมีดังนี้

1) บทนำ เป็นส่วนอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัยหรือการศึกษา ตลอดจนสรุปผลการทบทวนวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างกระชับเพื่อส่งเสริมให้มาของงานวิจัยสำคัญ
และชัดเจนมากขึ้น

2) วัตถุประสงค์การวิจัย อาจจะเลือกนำเสนอในรูปแบบของคำถามวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัยเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน

3) ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ควรวิเคราะห์และจัดระบบความสัมพันธ์ของวรรณกรรมเหล่านั้นด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ใน
การวิจัยอย่างไร
ในประเด็นไหน โดยมีเนื้อหาไม่เกินหน้ากระดาษ

4) กรอบแนวคิดในการวิจัย นำเสนอสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการทำนั้นมีรูปแบบและทิศทางใด มีประเด็นใดบ้างที่ต้องการทำวิจัย แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่กำหนดไว้เป็นข้อสมมติฐานในการศึกษาวิจัย โดยให้ผู้เขียนนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นแผนภาพ

5) วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของการวิจัย
ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

6) ผลการวิจัยและอภิปรายผล เป็นการนำเสนอผลจากการศึกษาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการวิจัยของการวิจัย ควรนำเสนออย่างตรงประเด็นและอภิปรายผลควบคู่ไปกับผลการวิจัยในแต่ละส่วน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้หรือเปรียบเทียบกับหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

7) สรุปผลการวิจัย เป็นการนำเสนอสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาหรือการวิจัยอย่างกระชับและเข้าใจได้ง่าย ควรมีการให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยหรือการศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปด้วย

8) ข้อเสนอแนะ เป็นข้อเสนอแนะในการนำผลงานวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

9) กิตติกรรมประกาศ เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาหน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการศึกษา

10) เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนรายการเอกสารที่ใช้ในการอ้างอิงในส่วนของเนื้อหาทั้งหมด โดยให้ยึดรูปแบบ APA (American Psychological Association) ในการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (โปรดดูคำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของเอกสารอ้างอิงดังนี้

ส่วนเอกสารอ้างอิงเขียนเอกสารอ้างอิงโดยใช้รูปแบบ APA (American Psychological Association) ไม่น้อยกว่า 10 รายการ ซึ่งบทความในวารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ให้การอ้างอิงภาษาอังกฤษทั้งเล่ม ดังนั้นกรณีรายการอ้างอิงเป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z (ทั้งอ้างอิงภาษาอังกฤษและอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ทั้งนี้ รบกวนผู้เขียนเขียนรายการอ้างอิงภาษาไทยประกบด้วยเพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง เมื่อบทความตอบรับการตีพิมพ์แล้วทางวารสารจะนำรายการอ้างอิงภาษาไทยออกภายหลัง ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงจากหนังสือการสืบค้นออนไลน์วิทยานิพนธ์และวารสารดังนี้

A-waekaji, H. (2015). Development of scientific conceptual understanding of chemical equilibrium by using 5E inquiry learning cycle integrated with predict-observe-explain in the elaboration step for grade-11 students. Master's Thesis. Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.

ฮิกมะฮ์ อาแวกะจิ (2558) การพัฒนาความเข้าโจมโนมติวิทยาศาสตร์เรื่องสมดุลเคมีด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะชั้นผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกตอธิบายในชั้นขยายความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอุบลราชธานี

Best, J.W. (1981). Research in Education. Englewood Cliff: Prentice-Hell.

Maesincee, S. (2020). The World changes, people adoption, preparing Thai people to become perfect human beings after Covid-19 situation. Retrieved February 5, 2021, from https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub2020/20200506-2-the-world-changes-covid19.pdf

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2553). โลกเปลี่ยนคนปรับ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิต 19. สืบค้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2564, จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200506-2-the-world changes-covid19.pdf

Sanjaiprom, S., and Intanate N. (2018). A model for developing the mentor teachers 'roles in promoting the student teachers' learning management abilities. Journal of Education Naresuan University, 20 (3), 210-223.

สายฝน แสนใจพรม และน้ำผึ้ง อินทะเนตร (2561) รูปแบบการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2030, 210-229.

Wieselmann, J. R, Dare, E. A, Ring-Whalen, E. A. and Roehrig, G. H. (2020). "I just do what the boys tell me": Exploring small group student interactions in an integrated STEM unit. Journal of Research in Science Teaching, 57 (1), 112-144.

Zollman, A. (2012). Learning for STEM literacy: STEM literacy for leaming School Science and Mathematics, 112 (1), 12-19.

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.