กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์ การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) 3) ทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) 4) ประเมินผลการใช้กลยุทธ์ การบริหารจัดการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือครู โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ปีการศึกษา 2565 จำนวน 64 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ มีจำนวน 15 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตรวจสอบคุณภาพของกลยุทธ์มีจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ และแบบติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) จากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ และ ผลตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ดำเนินการจำนวน 5 กลยุทธ์ ตลอดปีการศึกษา 2565 การดำเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ผลการทดลองใช้ระดับการปฏิบัติทั้ง 5 กลยุทธ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 5 กลยุทธ์ ในภาพรวมสูงขึ้นทุกกลยุทธ์ คิดเป็นร้อยละ 96.49 4) การประเมินผลการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) 4.1) ผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน จากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) 4.1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 พบว่า จากผู้เรียน จำนวน 1,369 คน ที่ใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ในการจัดการเรียนการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับดีเยี่ยม จำนวน 658 คน ร้อยละ 48.06 ระดับดีมาก จำนวน 262 คน ร้อยละ 19.13 ระดับดี จำนวน 194 คน ร้อยละ 14.17 และไม่มีผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ 4.1.2) ผลการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 เรื่องการตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การแต่งกาย และกริยามารยาทอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 1,369 คน ร้อยละ 100 ทุกประเด็นการประเมิน 4.2) ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของครูจากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) จำนวน 15 เรื่อง ร้อยละ 100 4.3) ผลสัมฤทธิ์ด้านพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาครูจากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) มีเครือข่ายชุมชนแห่งการการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครบถ้วนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 9 เครือข่าย คิดเป็นร้อยละ 100 4.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ที่มีต่อการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการพิจารณาบทความดังกล่าว
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ