ความสุขกับสถานศึกษา : องค์ประกอบความสุขของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสุขของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้บริหาร 5 ราย (2) อาจารย์ 10 ราย (3) นักเรียน 10 ราย และ (4) ผู้ปกครอง 5 ราย รวมทั้งสิ้น 30 ราย โดยมุ่งเน้นการศึกษาความสุขตามแนวทาง ความสุข 8 ประการ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและสร้างข้อสรุปในบริบทเฉพาะของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ ผลการวิจัยพบว่า ความสุขของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สุขภาพอนามัยดี หมายถึง การที่สมาชิกในโรงเรียนมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและทางใจ จากการดูแลร่างกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ (2) เกื้อกูลสังคม หมายถึง การมีความเกื้อกูลสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในโรงเรียน (3) สร้างความสนุก ผ่อนคลาย หมายถึง การที่สร้างความผ่อนคลาย จากกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน และได้สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันภายในโรงเรียน (4) โอกาสพัฒนาศักยภาพ หมายถึง การที่โรงเรียนมีการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างความรู้ ความสามารถ และทักษะของบุคคลผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย (5) จัดสรรเงินเป็น หมายถึง การที่โรงเรียนส่งเสริมการให้ความรู้ ทางการเงิน และการออมเงิน เพื่อการไม่เป็นหนี้และมีเงินเก็บในอนาคต (6) อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หมายถึง การส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์เชิงความเป็นครอบครัวในโรงเรียน เพื่อสร้างความรักใคร่และความสัมพันธ์ที่อันดี (7) เชื่อมั่นในองค์กร หมายถึง การที่บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง มีความภูมิใจในโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ ที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ โดยทั้ง 7 องค์ประกอบข้างต้นนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ เป็นโรงเรียนแห่งความสุขที่ยั่งยืนต่อไปDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ