การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบ CIPP (Context, Input, Process, Product) ของสตัฟเฟิลบีม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน ประกอบด้วยครู จำนวน 54 คน และนักเรียน จำนวน 177 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยกลุ่มตัวอย่างสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการและให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินในด้านบริบท (Context) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยครูก่อนดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.30, SD = 0.76) 2) ผลการประเมินในด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยครูก่อนดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.76, SD = 0.56) 3) ผลการประเมินในด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยครูและนักเรียนระหว่างการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.64, SD = 0.56) และ 4) ผลการประเมินในด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยครูและนักเรียนหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.66, SD = 0.64) ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปวางแผนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาต่อไปDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ