เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์
Main Article Content
Abstract
Pinyapan Roamchart and Khwan Piasai
รับบทความ: 12 กรกฎาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 15 กันยายน 2554
บทคัดย่อ
เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง การรู้คิดเกี่ยวกับบทบาทและตำแหน่งของการเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์ในการแสดงออกเพื่อติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม การพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ให้มีเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่เด่นชัดกว่าการมีเอกลักษณ์อื่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าพฤติกรรมตามบทบาทอื่น ๆ ได้แก่ การแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นผลดีต่อการช่วยให้นักเรียนอยู่ในเส้นทางของการเป็นนักวิทยาศาสตร์และการเพิ่มกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศในอนาคต การพัฒนาให้นักเรียนมีเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ทำได้โดยการให้บุคคลได้รับประสบ-การณ์ในบทบาท เช่น ได้พูดคุย ได้ทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันกับบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์นั้น ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ครูสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อนนักเรียนวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง โดยประสบการณ์หรือกิจกรรมนั้นได้สร้างอารมณ์ทางบวก ตลอดจนความรู้สึกภาคภูมิใจในบทบาทของการเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์ และเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ การวัดเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์จะวัด 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบความเด่นของเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบความรู้สึกสำคัญของเอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ และองค์ประกอบความภาคภูมิใจในบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: เอกลักษณ์ นักเรียนวิทยาศาสตร์ เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์
Abstract
Science student's identity is defined as self-cognitions in terms of the role and position of science students that behave to interact with others in society. It is necessary to develop students containing their science capacity that can be done by giving science student’s identity than others. As a result, the students have the role performance of science student rather than others, e.g., scientific inquiry, study in the field of pure sciences. That can shape students themselves to be scientists, and it is increased the science manpower of our country in the future. The science student’s identity can be developed by gaining experiences in role, for instances, to talk and participate in the scientific activities with important persons such as their family, science teachers, science friends and outstanding scientists. It makes students to have the tendency to play into scientist roles. In addition, the students’ experiences or activities have to create positive affective, esteem in science students' role and the perceived value of the scientific activities. For measurement of science student's identity, it can be measured in three components: science student's identity salience, psychological centrality of science student's identity and esteem in science student's role.
Keywords: Identity, Students in science, Science Student’s Identity
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กิตติภูมิ วิเศษศักดิ์. (2534). กระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์การแต่งกายแบบฮิญาบของนักศึกษาสตรีมุสลิมในมหาวิทยาลัยส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์ สค.ม. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
โกวิทย์ เวชชศาสตร์. (2547). กระบวนการเข้าสู่ความเป็นนักฟิสิกส์ : กรณีศึกษานักเรียนในแผน การเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหา-วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทื้อน ทองแก้ว. (2542). สารจากอธิการบดีสถาบันราชภัฏรำไพพรรณี. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 9 (วทร. 9). จันทบุรี: สถาบันราชภัฏรำไพพรรณ.
ธงชัย ชิวปรีชา. (2542). สารจากผู้อานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 9 (วทร. 9). จันทบุรี: สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
ธีระชัย ปูรณโชติ. (2536). ประวัติ ปรัชญา และวัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1–4. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทนา น้ำฝน. (2536). องค์ประกอบบางประการที่สัม-พันธ์กับเอกลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (บริหารการ ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์. (ม.ป.ป.). แนวทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์. ในรวมบทความทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อบทบาท เอกลักษณ์ของนักเรียนวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และความคลุมเครือในบทบาทที่มีผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของนักเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยงยุทธ ยุทธวงศ์. (2549). การพัฒนาผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: สู่การพึ่งตนเองในการสร้างสมองของชาติ. ในการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความสามารถและนวัตกรรมการเรียนรู้ในประเทศไทย. นครปฐม: โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์. (2545). ปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อเอกลักษณ์และพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทครูแนะแนว. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543ก). รายงานการเสวนาทางวิชาการ เรื่องยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ศึกษา: บทเรียนจากประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อ้อมเดือน สดมณี. (2540). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
Burke, P. J., and Reitzes, D. C. (1991). An Identity Theory Approach to Commitment. Social Psychol. Quart. 54(3): 239–251.
Jenkins, R. (1996). Social Identity. London: Routledge.
Owens, T. J. (2003). Self and Identity. In J. Delamater (ed.), Handbook of Social Psychology (pp. 217–218). New York: Plenum.
Stryker, S. (1980). Symbolic Interactionism: A Social Structure Version. California: Menlo Park.
Stryker, S. (1987). Identity Theory: Developments and Extensions. In K. Yardly and T. Honess (eds.), Self and Identity: Psychosocial perspectives (pp. 83–103). Chichester: John Wiley & Sons.
Stryker, S. (1992). Identity Theory. In E. F. Borgatta and M. L. Borgatta (eds.), Encyclopedia of Sociology V.1 (pp. 871 – 875). New York: Macmillan.
Stryker, S. & Burke, P. J. (2000). The Past, Present, and Future of an Identity Theory. Social Psychol. Quart. 63(4): 284–297.
Stryker, S., and Serpe, R. T. (1982). Commitment, Identity Salience and Role Behavior: Theory and Research Example. In Williams Ickes and Eric S. Knowles (eds.), Personality, Roles, and Social Behavior (pp. 199–281). New York: Springer–Verlag.
Stryker, S., and Serpe, R. T. (1994). Identity Salience and Psychological Centrality: Equivalent, Over-lapping or Complimentary Concepts? Social Psychol. Quart. 57(1): 16 – 35.