พื้นที่ว่างของการให้บริการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล

Abstract

บทคัดย่อ                นโยบายการพัฒนาประเทศของไทย โดยเฉพาะแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการขยายตัวของเมืองเพิ่มมากขึ้น และมักเกิดขึ้นกับเมืองขนาดใหญ่ เนื่องจากการอพยพเข้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมีแรงดึงดูดจากแหล่งงาน ความพร้อมสมบูรณ์ของระบบบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น สถานพยาบาล สถานศึกษา ฯลฯ ส่งผลต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องของที่พักอาศัย และการเดินทางที่มีความซับซ้อนมากขึ้น งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาพื้นที่ว่างของการให้บริการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร โดยใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขการให้บริการในพื้นที่ว่าง และสามารถตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชากรในกรุงเทพมหานคร                ผลการวิจัย พบว่า จำนวนชุมชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,239 ชุมชน มีจำนวนชุมชนที่อยู่ในขอบเขตของการให้บริการขนส่งสาธารณะ จำนวน 828 ชุมชน และอีก 411 ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ว่างของการให้บริการขนส่งสาธารณะ โดยประชากรในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ว่างเหล่านี้ ประสพกับปัญหาในการเดินทางเข้าถึงจุดให้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น การเปลี่ยนยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนยานพาหนะ ซึ่งภาครัฐควรมีนโยบายในการบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น เพื่อสนองตอบการเดินทางให้กับประชากรในเมือง ได้แก่ การใช้ตั๋วโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางสามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกประเภท และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดลง ในกรณีที่เป็นพื้นที่ว่าง (Gap) ของการให้บริการ ภาครัฐควรจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็ก เช่น รถสองแถว (Shuttle bus) เสริมการให้บริการในราคาย่อมเยาว์คำสำคัญ : พื้นที่ว่างของการให้บริการ

Downloads

Published

2012-05-18