การศึกษาปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีผลต่อ การยอมรับการใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนออนไลน์ แบบเปิดเพื่อมหาชน กรณีศึกษาประเทศไทย
A Study of the Structure of Learning Content That Affects MOOC’s Technology Acceptance: A Case of Thailand
Keywords:
แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี, การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน, การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้, ปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้Abstract
การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (MOOC) ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ได้โดยไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ แต่จากผลการศึกษาเรื่องอัตราการเรียนสำเร็จของผู้เรียนยังอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยพื้นฐานด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ (Structuring Learning Content) ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน ซึ่งอาจช่วยให้เข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้เรียน โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (2) เพื่อสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน คณะผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจำนวน 30 คน และให้เข้าเรียนหลักสูตรในระบบ MOOC จากนั้นให้ตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ แล้วนำผลไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี MOOC และสามารถสร้างแบบจำลองผลกระทบของปัจจัยด้านโครงสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี MOOC สำหรับในอนาคต คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนออนไลน์References
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). แห่เรียน CHULA MOOC นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/894387
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). MOOC Pedagogy: จาก OCW, OCR สู่ MOOC เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ประจำปีพ.ศ. 2556. หน้า 276-285. สืบค้นจาก http://support.thaicyberu.go.th/proceeding/proceedingNEC2013.pdf
ชโรชินีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 1(1): 46-70.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(3): 158-166. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/248253
ดำรัส อ่อนเฉวียง. (2565). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จาก https://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/4364/1/2565_059.pdf
ปริญญา น้อยดอนไพร. (2560). MOOC (มู้กส์). สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563, จาก https://arit.sru.ac.th/news-activities/arit-share/751-MOOC.html
รุสดี เปาจิ. (2558). MOOC กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์. 2(1): 17-28.
สุภาณี ทัพขวา ทัพขวา. (2561). การศึกษากิจกรรมการเรียนการสอนและพฤติกรรมการเรียนใน Thai MOOC. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). นครปฐม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2563). MOOC : นวัตกรรมการศึกษา/เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการศึกษาแบบก้าวกระโดด. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/MOOC-bibliometric/
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2565). รัฐบาลปลื้ม “Thai MOOC” โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยยอดคนเรียน 1.5 ล้านคน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทุกคน ข่าวคณะโฆษก 22/12/2565. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62974
Digitalagemag. (2562). MOOC นวัตกรรม การศึกษา แบบเปิดกว้าง ยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562, จาก https://www.digitalagemag.com/MOOC-นวัตกรรม-การศึกษา-แบบเปิดกว้าง-ยุคดิจิทัล
Thai MOOC. (2563). MOOC คืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562, จาก https://support.thaimooc.org/help-center/articles/8/9/77/mooc
Workpoint TODAY. (2561). รู้จัก “MOOC” มหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียนได้ทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://workpointtoday.com/เจาะตลาด-mooc-มหาวิทยาลัย/
Alamri, Mahdi Mohammed. (2022). Investigating Students’Adoption of MOOC during COVID-19 Pandemic: Students’Academic Self-Efficacy, Learning Engagement, and Learning Persistence. Sustainability. 14(2): 714.
Cheung, R. and Vogel, D. (2013). Predicting User Acceptance of Collaborative Technologies: An Extension of the Technology Acceptance Model for e-Learning. Computers & Education. 63(2013): 160-175.
Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly. 13(3): 319-340.
Davis, F. D.; Bagozzi, R. P.; & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science. 35(8): 982-1003.
Gosset, W.S. (1908). The Probable Error of a Mean. Biometrika. 6(1): 1-25. Retrieved from https://bayes.wustl.edu/Manual/Student.pdf
Meet, Rakesh Kumar; & Kala, Devkant. (2021). Trends and Future Prospects in MOOC Researches: A Systematic Literature Review 2013-2020. Contemporary Educational Technology. 13(3): 312. Retrieved from https://doi.org/10.30935/cedtech/10986
Tao, D., Fu, P., Wang, Y., Zhang, T. and Qu, X. (2019). Key Characteristics in Designing Massive Open Online Courses (MOOCs) for User Acceptance: An Application of the Extended Technology Acceptance Model. Interactive Learning Environments. 30(44):1-14.
Wu, B.; and Chen, X. (2017). Continuance Intention to Use MOOCs: Integrating the Technology Acceptance Model (TAM) and Task Technology Fit (TTF) Model. Computer in Human Behavior, 67(2017): 221-232.
Yang, M.; Shao, Z.; Liu, Q.; & Liu, C. (2017, February). Understanding the Quality Factors that Influence the Continuance Intention of Students toward Participation in MOOC. Educational Technology Research and Development. 65(5): 1195-1214. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s11423-017-9513-6