ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยว ตามแนวทางการท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่

The Demand of Thai Tourists to Travel to Chiang Mai According to the New Normal of Tourism

Authors

  • นันทิยา ตันตราสืบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Keywords:

การท่องเที่ยวในความสนใจเฉพาะ, นักท่องเที่ยวชาวไทย, การท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวตามแนวทางการท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์นี้ เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน ทำการสุ่มแบบแบบแบ่งประเภท โดยการเลือกจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในย่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ และใช้การสุ่มแบบบังเอิญโดยเลือกเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้รับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าสถิติการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมากเป็นหญิง โดยมีอายุระหว่าง 21-30 ปี อยู่ในวัยทำงาน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคเหนือ มีลักษณะของการท่องเที่ยวโดยจัดนำเที่ยวด้วยตนเอง และมีแนวโน้มการใช้จ่ายโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ด้านแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจสูงสุด คือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทุ่งดอกไม้ สวนผลไม้ สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะที่ให้ความสนใจพิเศษ คือ การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์หรือฟาร์มสเตย์ สอดคล้องกับความนิยมด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวเลือกเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่  ผลวิจัยครั้งนี้นำไปสู่การนำเสนอแนวทางในเชิงนโยบายเพื่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวรูปแบบวิถีใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่และการรองรับการจัดการด้านการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติผู้มาเยี่ยมเยือนที่เป็นชาวไทยในจังหวัดเชียงใหม่ปี พ.ศ. 2563. สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563 (Tourism Statistics 2020). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=592.

ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม และอรอนงค์ เดชมณี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3): 187-201.

ณิชา พิชัยวรุตมะ, อมราวดี บุญเรือง และสุขุมาล กล่ำแสงใส. (2565). รูปแบบการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. การประชุมหาดใหญ่ระดับวิชาการและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น. 3723-3286). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธนพล คล่องสมุทร, วรุตม์ นาฑี และศุภรัตน์ พิณสุวรรณ. (2564). ผลกระทบของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ต่อผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในพื้นที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคใต้ครั้งที่ 1 (น. 40-42). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นันทิกานต์ ศรีสุวรรณ์, ธนา กิติศรีวรพันธุ์ และวีระ วีระโสภณ. (2564). มาตรฐานความปลอดภัยของธุรกิจโรงแรมและที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด19. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9 เรื่อง “การยกระดับการวิจัยสู่นวัตกรรม” (น. 168-186). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปนัดดา ชนะพาล, ชฎาธาร คงดี, วันเฉลิม สุดนาวาม และศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2562). มิติของแรงจูงใจในการเดินทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวของผู้หญิงชาวต่างชาติที่เดินทางคนเดียวในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 10(1): 114-128.

ภฤศญา ปิยนุสรณ์ และระชานนท์ ทวีผล. (2565). การจัดการช่องว่างคุณภาพบริการของกลุ่มธุรกิจโรงแรมบรรษัทข้ามชาติในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่ามกลางภาวะวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3. วารสารการวิจัยและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 17(59): 52-63.

ภุชง ชื่นชม, สิทธิชัย ยอดสุวรรณ, ธิติพงษ์ พลอยเหลือง, ประสงค์ หมื่นจันทร์ และพิษณุลักษณ์กันทวี. (2565). การพัฒนาระบบการจัดการการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-ลาว กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 14(1): 71-92.

มณต์ณัฐ จุฬาโคตร. (2563). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในจังหวัดเชียงใหม่หลังเกิดวิกฤตการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-14_1632292918.pdf

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และกัญญากาญจน์ ไซเออร์ส. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ตามทัศนะของนักท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(22): 60-66.

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่. (2563). คำสั่งกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่1/2563 เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID)) จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.chiangmai.go.th/covid19/assets/pdf/command/1_2563.pdf.

Pearce, P.; Morrison, A.; & Rutledge, J. (1998). Motivational Influence in Tourism Demand in Tourism: Bridges Across Continents. Sydney: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

Published

2023-12-28