การออกแบบธุรกิจต้นแบบโรงเรียนสอนร้องเพลงที่จําแนก ตามความถนัดเพื่อตอบโจทย์ของผู้เรียนยุคใหม่

Prototype Business Model: A Singing School Classified by Aptitude to Meet the Needs of Modern Learners

Authors

  • หนึ่งธิดา โสภณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เบญจวรรณ อารักษ์การุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

แผนธุรกิจ, โรงเรียนสอนร้องเพลง, ผู้เรียนยุคใหม่

Abstract

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและการบริหารงานแผนธุรกิจที่นำไปสู่ความสำเร็จของโรงเรียนสอนร้องเพลงที่ประสบความสำเร็จ และเพื่อพัฒนาธุรกิจต้นแบบของโรงเรียนสอนร้องเพลงที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารโรงเรียนสอนร้องเพลง 3 แห่ง และแจกแบบสอบถามบุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์และความต้องการในการเรียนร้องเพลง จำนวน 400 ชุด ผลการศึกษาพบว่า บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์และความต้องการในการเรียนร้องเพลง มีจุดมุ่งหมายหลักของการมาเรียนร้องเพลงและเต้นรำ คือ ต้องการเป็นศิลปิน มีปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกสถาบันการเรียน คือ ครูผู้สอน มีปริมาณชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์อยู่ที่ 3 – 5 ชั่วโมง มีช่วงเวลาเรียนหลัก คือ ช่วงเสาร์อาทิตย์ และมีค่าใช้จ่ายการเรียนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 5,001 – 10,000 บาท ความต้องการในแผนธุรกิจในโรงเรียนสอนร้องเพลงและเต้นรำ คือ ต้องการผู้สอนมีประสบการณ์และมีทักษะเฉพาะทางในระดับมากที่สุด รองลงมาคือต้องการให้สถาบันการสอนควรมีพื้นที่การจัดแสดงผลงานของลูกศิษย์และต้องการหลักสูตรหรือรูปแบบการสอนที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของสถาบันในระดับมาก ตามลำดับ Business Model Canvas สำหรับโรงเรียนสอนร้องเพลงของผู้เรียนยุคใหม่ ผลลัพธ์ดังนี้ 1) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือกลุ่มคนวัยประถมถึงมัธยมที่ชื่นชอบการร้องเพลงและเต้นรำ 2) คุณค่าของสถาบัน คือหลักสูตรจากบุคลากรที่มีศักยภาพและการสอนที่ครอบคลุมและหลากหลาย 3) ช่องทางการสื่อสารหลัก คือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 4) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มุ่งเน้นสร้างพื้นที่ในการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อสร้างความผูกพันและการสนับสนุนระหว่างกัน 5) รายได้ของสถาบันมาจาก 2 ส่วน คือ รายได้จากการสอนและการทำโปรเจคกับพาร์ทเนอร์ 6) ทรัพยากรหลัก คือ ครูผู้สอน พนักงาน และอุปกรณ์การสอน 7) กิจกรรมหลัก คือหลักสูตรร้องเพลงและเต้นรำ 8) พันธมิตรหลัก คือ Collaboration ร่วมกับศิลปินค่ายต่างๆ หรือกลุ่มลูกศิษย์ และ 9) โครงสร้างต้นทุน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายแบบ Fixed Cost และค่าใช้จ่ายส่วนการบริหารจัดการ

References

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business model generation. John Wiley & Sons.

Osterwalder, A., Pigneur, Y., Papadakos, P., Bernarda, G., Papadakos, T., & Smith, A. (2014). Value proposition design. John Wiley & Sons.

กิตติพร แซ่แต้, & ตรีทิพ บุญแย้ม และศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์. (2560). การศึกษาองค์ประกอบทางธุรกิจสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจโรงเรียนดนตรีในประเทศไทย. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 10(2), 96-108.

ณัฏฐ์ธชัย โพธิ์ทองนาค. (2558). แผนธุรกิจสถาบันสร้างสรรค์และพัฒนาศิลปินและวงดนตรี ภายใต้ชื่อ Mixhead Music Space. การค้นคว้าอิสระ นศ.ม. (สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มรกต รอดพึ่งครุฑ. (2564). Plant Factory เทรนด์การเพาะปลูกแห่งอนาคต. นิตยสาร "คิด" Creative Thailand, 12(6), 6-7.

รัชนีกร ตรีสมุทรกุล. (2558). นวัตกรรมโมเดลธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิ9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

Published

2023-02-17