การประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัย: กรณีศึกษาในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งในประเทศไทย
Safety Culture Assessment: The Case Study of One Construction Project in Thailand
Keywords:
วัฒนธรรมความปลอดภัย, ก่อสร้าง, การยอมรับความเสี่ยงAbstract
จากอัตราการเกิดอุบัติเหตุที่สูงในอุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นทำให้เป็นที่กังวลทุกครั้งเมื่อมีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้นยอมรับสภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูงกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เนื่องจากลักษณะการทำงานมีสภาพแวดล้อมอันตรายกว่าอุตสาหกรรมอื่น และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดในการทำงานแต่ละวัน การศึกษานี้มีความสนใจในการประเมินวัฒนธรรมความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างโดยใช้วิธีการประเมินที่เคยใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งมีความแตกต่างกันที่โครงการก่อสร้างนั้นเป็นพื้นที่รวมตัวกันของผู้ทำงานที่มาจากหลากหลายองค์กร และมีพื้นฐานระดับการศึกษาและสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้บรรยากาศความปลอดภัยของหน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยของประเทศอังกฤษ ในกลุ่มผู้ทำงานทั้งหมด 440 คน โดยมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 321 คน คิดเป็นร้อยละ 72.9 ผลจากการศึกษาพบว่าสาเหตุพื้นฐานที่จะนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงคือการยอมรับที่จะเสี่ยงอันตราย ตามมาด้วยความเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และแนวคิดต่อสภาพแวดล้อมการทำงานที่อันตราย ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำงานในโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ พร้อมที่จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและละเลยการปฏิบัติต่อกฎความปลอดภัย การศึกษานี้สรุปว่าการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดเพื่อยับยั้งการยอมรับความเสี่ยงในจิตใต้สำนึกของผู้ทำงานในโครงการก่อสร้างReferences
Bandura, Albert. (1886). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Chen, Q.; A.M.ASCE; & Jin, Ruoyu. (2013). Multilevel Safety Culture and Climate Survey for Assessing New Safety Program. Journal of Construction Engineering and Management. 139(7): 805-817.
Christian, M.S., Bradley, J.C., Wallace, J.C., Burke, M.J. (2009). Workplace Safety: A Meta-Analysis of the Roles of Person and Situation Factors. Journal of Applied Psychology. 94(5): 1103–1127.
Cooper, M. D. (2000). Towards a Model of Safety Culture. Safety Science. 32(6): 111–136.
Cox, Sue & Cheyne, Alistair. (2000). Assessing Safety Culture in Offshore Environments. Safety Science. 34(1): 111-129.
Guldenmund F. (2000). The Nature of Safety Culture: A Review of Theory and Research. Safety Science. 34(1): 215–257.
Gillen, M; Goldenhar, LM; Hecker, S; & Schneider, S. (2014). Safety Culture and Climate in Construction: Bridging the Gap between Research and Practices. Silver Spring, MD: CPWR.
Health and Safety Executive (HSE). (1999). Safety Climate Measurement User Guide and Toolkit. Retrieved May 1, 2022, from http://plataforma.responsable.net/sites/default/files/safety-climate-assessment-toolkit_1.pdf_____________________________. (2019). Summary Report, Appriaciation of Risk Research. Retrieved May 1, 2022, from appreciation-risk-publication-report.pdf (hse.gov.uk)
Hecker, Steven & Goldenhar, Linda. (2014). Understanding Safety Culture and Safety Climate in Construction: Exiting Evidence and a Part Forward. Retrieved May 1, 2022, from https://www.cpwr.com/wp-content/uploads/publications/publications_hecker_goldenhar_lit_review_summary_final_0.pdf
Lou Tongyuan. (2020). Safety Climate: Current Status of the Research and Future Prospects. Journal of Safety Science and Resilience. 1(2): 106-199.
Social Security Office, Ministry of labor. (2022). Worker’s Compensation Fund Annual Report 2021. Retrieved May 25, 2022, from https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/8fc8266ab89b2e81dd3e800862607bae.pdf
The Keil Centre, Health and Safety Executive (HSE). (2001). Safety Culture Maturity Model. Retrieved May 1, 2022, from https://www.hse.gov.uk/research/otopdf/2000/oto00049.pdf
Zohar, D. (1980). Safety Climate in Industrial Organizations: Theoretical and Applied Implications. Journal of Applied Psychology. 65(1): 96–102.