การเปลี่ยนผ่านรามัญนิกายจากรามัญประเทศสู่ธรรมยุติกนิกายในสยามประเทศ และจากธรรมยุติกนิกายในสยามประเทศสู่การฟื้นคืนรามัญนิกายในพม่าประเทศ

The Transition of Raman Nikaya from Ramannadesa in Siam and Dhammayut Nikaya in Siam to the Revitalization of Raman Ni

Authors

  • องค์ บรรจุน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

มอญ, รามัญประเทศ, รามัญนิกาย, ธรรมยุติกนิกาย, สยามประเทศ, พม่าประเทศ

Abstract

           การสถาปนาธรรมยุติกนิกายในรามัญประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2419 เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสถาปนาธรรมยุติกนิกายในสยามประเทศในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2368 โดยมีพระอาจารย์ซาย รามัญนิกายเป็นแม่แบบ การเดินทางของรามัญนิกายในรูปของธรรมยุติกนิกายสู่รามัญประเทศภายใต้การปกครองของอังกฤษมีความสําคัญต่อชาวมอญในรามัญประเทศในฐานะเครื่องมือฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนภาษาและพุทธศาสนาแบบมอญ ที่ถูกพม่ากลืนชาติภายหลังแพ้สงครามกรุงหงสาวดีครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2300 การศึกษาวิจัยนี้ เพื่อเติมเต็มประวัติศาสตร์การเดินทางของพุทธศาสนาเถรวาทแบบรามัญนิกายจากจุดตั้งต้นกระทั่งหยั่งรากลงในสยามประเทศตลอดจนทําาความเข้าใจสถานการณ์ทางด้านการเมืองและสังคมของทั้งสองประเทศ ณ ขณะเวลาที่เกิดธรรมยุติกนิกายในสยามประเทศ และปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านของธรรมยุติกนิกายที่พาวัฒนธรรมมอญจากสยามประเทศย้อนกลับสู่รามัญประเทศโดยมหาเย็น หรือพระไตรสรณธัช (เย็นพุทธวําโส)พระมอญที่เกิดในสยาม เพื่อการฟื้นฟูรามัญนิกายที่เสื่อมถอยภายหลังอาณาจักรมอญล่มสลาย กระทั่งเติบโตแพร่หลายเป็น 1 ใน 9 นิกายหลักที่รัฐบาลเมียนมาให้การรับรองในปัจจุบันนอกจากนี้ยังพบว่าการธํารงอยู่และการแลกรับปรับเปลี่ยนแบบแผนทางพุทธศาสนาในสภาวะของการก้าวข้ามพรมแดนรัฐชาติอย่างมีพลวัตของไทยและเมียนมาแต่อดีตจนปัจจุบัน สะท้อนว่าพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นแก่นแกนวัฒนธรรมร่วมรากเหง้าของผู้คนในภูมิภาค มีการปรับปรนเพื่อการรับใช้สังคมและการเมืองให้เข้ากับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมีนัยสําคัญ

References

กระจ่าง นันทโพธิ. (2528ก). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_____________. (2528ข). มหานิกาย-ธรรมยุต ความขัดแย้งภายในของคณะสงฆ์ไทยกับการส้องเสพอําานาจปกครองระหว่างฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร. กรุงเทพฯ: สันติธรรม.

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2434). แฟ้ม ม.5.1ก./31 เรื่องพวกรามัญแขวงเมืองราชบุรีหนีออกไปนอกพระราชอาณาเขต ร.ศ.109-110. กรุงเทพฯ: สําานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กี ฐานิสสร. (2518). ประวัติคณะสงฆ์ไทยกับธรรมยุติกบริหาร. กรุงเทพฯ: มณีกรวิทยา.คณะธรรมยุต. (2547). ประวัติคณะธรรมยุต. นครปฐม: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

นฤมล ธีรวัฒน์. (2525). พระราชดําาริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

พระธัมมานันทมหาเถระ. (2534). การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2532). พระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่เซอร์ จอห์น เบาวริง. ประวัติศาสตร์บางเรื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. บรรณาธิการโดย ดําารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2513). พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ และหลักราชการ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.พระนคร: กรมศิลปากร.

พระปัญญาสามี. (2506). ศาสนวงศ์ หรือ ประวัติศาสนา: พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.พระพรหมโมลี, (วิลาศ ญาณวโร). (2545). กรรมทีปนี. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

พระมหาช่วง อู่เจริญ. (2540). พงศาวดารชนชาติมอญ. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูปทุมธรรมโชติ (บุญไทย โชติปาโล). กรุงเทพฯ: เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง.

พระเจ้าธรรมเจดีย์. (2468). จารึกกัลยาณี. แปลโดย พระยาพจนสุนทร (เรือง อติเปรมานนท์). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.มานิต วัลลิโภดม. (2521). สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน. กรุงเทพฯ: การเวก.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2559). ศรัทธาข้ามพรมแดน. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์.วัดบวรมงคล. (2534). ประวัติวัดบวรมงคล. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเซท.

วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมวัฒนธรรมพม่า. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิไลรัตน์ ยังรอด และ ธวัชชัย องค์วุฒิเวช. (2559). ถอดรหัส ภาพผนัง พระจอมเกล้า-ขรัวอินโข่ง.กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส.

สุนทร ศรีปานเงิน. (2542). แปดฝนในเมืองมอญ: สารคดีบันทึกประวัติศาสตร์จากประสบการณ์จริงผู้นําากบฏแมนฮัตตันตอนลี้ภัยการเมือง. กรุงเทพฯ: สันนิบาตชนชาติมอญ.

สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2544). คณะสงฆ์รามัญในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.หอสมุดแห่งชาติ. (2364). เอกสารตัวเขียนสมุดไทดําา รัชกาลที่ 2 จ.ศ. 1183 เลขที่ 3. กรุงเทพฯ: สําานักหอสมุดแห่งชาติ.

____________. (2396). เอกสารตัวเขียนสมุดไทดําา รัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1215 เลขที่ 47. กรุงเทพฯ: สําานักหอสมุดแห่งชาติ.องค์ บรรจุน. (2549). ต้นทางจากมะละแหม่ง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

_________. (2561). มนุษย์สีหะหน้าวังหงสา: บันทึกสนามของนักวิจัยในเมืองมอญ. กรุงเทพฯ: สมอลดรีม.อรวรรณ ทับสกุล. (2547). หลวงพ่ออุตตมะ: หลวงพ่อใหญ่ของชาวมอญ. กรุงเทพฯ: มติชน.

อาโด๊ด. (2563). วัดมอญในเมืองไทย 397 วัด. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://www.facebook.com/oneMononeGoal/photos/.

Halliday, Robert. (1913). Immigration of the Mons into Siam. JSS 10. Part 3: 1-14.

Smithies, Michel. (1986). Village Mons of Bangkok. The Mons: Collected Articles from The Journal of Siam Society. Bangkok: The Siam Society.

Za Wa Na, Ven. (2018). The Trend of the Role of Ramanna Nikaya in the Next Decade in Mon State. The Journal of International Association of Buddhist Universities(JIABU). 11(3): 194-211.

Downloads

Published

2024-04-29