การบูรณาการแนวคิดเพื่อกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการบริหารจัดการอุทกภัยโดยใช้การประเมินมูลค่าความเสียหาย
An Integrated Approach to Determine Land Use Zoning for Flood Management by Using Flood Loss Assessment
Keywords:
การจัดการเขตน้ำท่วม , มูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วม, แม่น้ำน้อย, อําเภอเสนาAbstract
การกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นหนึ่งในมาตรการการจัดการอุทกภัยที่ไม่ใช้โครงสร้าง ซึ่งที่ผ่านมาการกําหนดเขตพื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่จะกําหนดจากพื้นที่ที่เคยถูกนํา้าท่วมหรือพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่งผลให้พื้นที่ที่มีอาคารและพื้นที่อื่น ๆ ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมนั้นไม่ได้รับการพัฒนาต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสียหายจากน้ำท่วม โดยประเมินจากการเกิดน้ำท่วมในอดีต บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเสนอแนะแนวทางการกําาหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์เพื่อจําแนกระดับความถี่จํานวนครั้งของการเกิดน้ำท่วมในอดีตที่แบ่งตามเกณฑ์ คือ ความถี่ต่ำ (3 ครั้งต่อ 10 ปี) ความถี่ปานกลาง (4-7 ครั้งต่อ 10 ปี) และความถี่สูง (8-10 ครั้งต่อ 10 ปี)ส่วนการประเมินความเสียหายจากอุทกภัยพิจารณาความเสียหายที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้จาก 6 ปัจจัย ความเสียหายซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเสียหายเชิงปริมาณและความเสียหายเชิงพื้นที่ในช่องกริดขนาด 100x100 เมตร ที่ได้กําหนดเกณฑ์ของมูลค่าความเสียหายเป็น 3 ระดับ คือ ระดับตํา่า(≤ 0.1 ล้านบาท) ระดับปานกลาง (0.1 ถึง 1.00 ล้านบาท) และระดับสูง (≥ 1.01 ล้านบาท) ส่วนการวิเคราะห์เพื่อการกําหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัยสําหรับเพื่อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วมตามระดับความถี่ของการประสบน้ำท่วมในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550-2559) พบว่า แต่ละบริเวณมีระดับความถี่ของการประสบน้ำท่วมที่แตกต่างกัน โดยมีขนาดพื้นที่ประสบน้ำท่วมความถี่สูง พื้นที่ประสบน้ำท่วมความถี่ต่ำ และพื้นที่ประสบน้ำท่วมความถี่ปานกลาง คือ 49.64, 27.78 และ 24.79 ตร.กม. ตามลําดับReferences
Botzen, B. L. M.; Scussolini, P.; Kuik, O.; Haasnoot, M.; Lawrence, J.; & Aerts, J. C. J. H.(2019). Integrated Disaster Risk Management and Adaptation. In Loss and Damagefrom Climate Change: Concepts, Methods and Policy Options. Edited by R. Mechler; L. M. Bouwer; T. Schinko; S. Surminski; & J. Linnerooth-Bayer. pp. 287-315. Cham: Springer.
Bre ́mond, Pauline; Grelot, Frédéric; & Agenais, Anne-Laurence. (2013). Flood DamageAssessment on Agricultural Areas: Review and Analysis of Existing Methods.Retrieved February 20, 2021, from https://hal.archives-ouvertes.fr/hal-00783552/document
Burby, R. J.; Deyle, R. E.; Godschalk, D. R.; & Olshansky, R. B. (2000). Creating Hazard Resilient Communities through Land-Use Planning. Natural Hazard Review.1(2): 99-106.
Department of Public Works and Town and Country Planning. (2019). Draft Final Report The study of Sena comprehensive plan Phra Nakhon Si Ayutthaya (in Thai). Bangkok: DPT.
__________________________________________________. (2020a). Draft-Guidelines for Writing A Layout Report For The New Comprehensive Plan (in Thai).Bangkok: DPT.
__________________________________________________. (2020b). Building use of Phra Nakhon Si Ayutthaya province in 2019 scale 1:4,000 (in Thai). Bangkok: DPT.
__________________________________________________. (2021). Draft- Criteria and standardization for comprehensive plan (town & community) (in Thai).Bangkok: DPT.
Dutta, D.; Herath, S.; & Musiake K. (2001). Direct Flood Damage Modeling towards Flood Risk Management. Tokyo: International Center for Urban Safety Engineering(ICUS/INCEDE), IIS, The University of Tokyo.
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) (GISTDA). (2021). Flood Map in 2007-2016 (Digital file). Retrieved February 20, 2021, from http://flood.gistda.or.th
International Strategy for Disaster Reduction (ISDR). (2004). Guidelines for Reducing Flood Losses, New York: Inter-agency Secretariat of the ISDR, United Nations.
Jonkman, S.N.; Bockarjova, M.; Kok, M.; & Bernardini, P. (2008). Integrated Hydrodynamicand Economic Modelling of Flood Damage in the Netherlands. Ecological Economics. 66(1): 77-90.