ทัศนคติในการจัดการความเสี่ยงองค์กรของผู้ปฏิบัติงานในภาคธุรกิจการบิน หลังสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19
Attitudes to Risk Management of Staff in the Aviation Sector after the COVID-19 Pandemic
Keywords:
ความเสี่ยง , การจัดการองค์กร , การสื่อสารที่มีประสิทธิผล , การพัฒนาประสิทธิภาพAbstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมุมมองของผู้ปฏิบัติงานในภาคธุรกิจการบิน ในระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง ต่อปัจจัยความเสี่ยง รวมถึงการนําาความรู้ในด้านการจัดการองค์กรและการสื่อสารที่มีประสิทธิผล ไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน อีกทั้งยังต้องการกระตุ้นเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเก็บข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงานในภาคธุรกิจการบิน โดยใช้แบบสอบถามจําานวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ การศึกษาพบว่า ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานภาคธุรกิจการบินมีความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง โดยมีการวางแผนการจัดการความเสี่ยงทั้งในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจําาวันรวมถึงมีความเข้าใจในประเภทความเสี่ยงและสามารถระบุความเสี่ยงได้ว่า ความเสี่ยงนั้นส่งผลต่อการปฏิบัติงาน โดยมีความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการทําางานจากภายในองค์กร (Internal Hazzard Risk) มากที่สุด แต่มีความสามารถในการระบุและประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) น้อยที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเข้าใจในการจัดการองค์กรค่อนข้างมาก โดยให้ความสําาคัญกับการวางแผนและการกําาหนดขั้นตอนในการทําางาน และให้ความสําาคัญกับการสื่อสารที่มีประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนี้ยังได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรมีการสื่อสารสองทางที่ชัดเจนเข้าใจง่าย และเข้าถึงพนักงานทุกคน ผลการวิเคราะห์ระบุว่า ความเข้าใจในประเภทความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน ความเข้าใจในด้านการจัดการองค์กรและการสื่อสารที่มีประสิทธิผลมีความสัมพันธ์ ส่งผลต่อการนําาความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพReferences
กุลธิดา เดชโยธิน. (2558). บริหารความเสี่ยงองค์กร. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
เกศรา สุกเพชร. (2560). กระบวนทัศน์และจริยธรรมในการดําาเนินการทางการท่องเที่ยวและบริการ.เอกสารประกอบการสอน. คณะการจัดการการท่องเที่ยว. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (ม.ป.ป.) การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://med.mahidol.ac.th/risk_mgt.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2558). การจัดการความเสี่ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กรของหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาและบริการวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 4(1): 40-49.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2562). การจัดการความเสี่ยงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 21(1): 191-199.
ฐิติรัตน์ นุ่มน้อย. (2554). การสื่อสารเพื่อการจัดการ การเปลี่ยนแปลงในองค์กร กรณีศึกษา: ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จํากัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ทนงศักดิ์ ภักดีชน. (2556). ทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึกและความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในเขตกรุงเทพมหานครปี 2557.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ถ่ายเอกสาร.
ไพลิน อภิธรรมกิตติ. (2561). การรับรู้ความเสี่ยงและแรงจูงใจของผู้บริโภคต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทางอินเทอร์เน็ต. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. ถ่ายเอกสาร.
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558) แผนบริหารความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก http://www2.tsu.ac.th/
มานะ ทองสิมา. (2557). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550) มนุษยสัมพันธ์พฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริลักษณ์ โรจนกิจอําานวย. (2561). การรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการซื้อผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 40(157): 79-99.
สุพรรณิการ์ ธรรมนิทัศนา. (2562). การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบริหารความเสี่ยงสําหรับองค์กรอุตสาหกรรมการผลิตกรณีศึกษา: อุตสาหกรรมแปรรูปกระดาษ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.องค์กรบริหารส่วนตําบลทุ่งกอ จังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). คู่มือบริหารความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.tkr.go.th
อรวรรณ ลีลาเกียรติวณิช. (2560) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยง กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม. ถ่ายเอกสาร.
อารี เพชผุด. (2530). มนุษยสัมพันธ์ในการทําางาน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
Suwaree, Ashton Ann; & Jitthanan, Metis. (2018). An Investigation of Western and Eastern Generation Y on Travel Risk Perception in Thailand. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก https://e-par.kpru.ac.th/e-par/A1/A0005-3570400532727-201805261527344430.pdf