ความสมนัยและความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุ ความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความภักดีต่อตราสินค้าของผู้โดยสารสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ

The Correspondence Analysis and the Correlationbetween Generation, Satisfaction of Marketing Mix and Customer Loyalty: Full-Service Airlines

Authors

  • พิชรุจน์ เปี้ยวน้อย สถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • นันทวัน อินทชาติ นักวิชาการอิสระ
  • อารีรัตน์ เส็นสด ถาบันการบินพลเรือน สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

สายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ , ความพึงพอใจ , ความภักดีต่อตราสินค้า , ความสมนัย

Abstract

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ 2) ศึกษาความภักดีต่อตราสินค้าของสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ 3) วิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงอายุของผู้โดยสารกับความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 4) วิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงอายุของผู้โดยสารกับความภักดีต่อสายการบิน และ 5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและความภักดีต่อตราสินค้าสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบ จําานวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ การวิเคราะห์การสมนัย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้โดยสารสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบมีความพึงพอใจในปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเฉลี่ยในระดับมาก 2) ผู้โดยสารสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบมีความภักดีต่อตราสินค้าในระดับมาก 3) ช่วงอายุมีความสมนัยกับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ช่วงอายุมีความสมนัยกับความภักดีต่อตราสินค้าอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อตราสินค้าสายการบินให้บริการเต็มรูปแบบในทิศทางบวก ระดับตํา่าอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

References

เจนจิรา นาทองคําา. (2561). อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดต่อความตั้งใจในการใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.3(3): 50-61.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสําาหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และคณะ. (2557). การสร้างความภักดีต่อการใช้บริการของ บริษัท การบินไทย จําากัด(มหาชน). วารสาร มฉก.วิชาการ. 17(34): 93-110.

พูลภัทร์ ชมจิตต์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายกับการเลือกใช้บริการเดินทางระหว่างประเทศของสายการบินของไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข.8(1)(2): 40-54.

สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ.2562: กรุงเทพฯ: สําานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

Glass, A. (2007). Understanding Generational Differences for Competitive Success. Industrial and Commercial Training. 39(2): 98-103.

Howe, N.; & Strauss, W. (2000). Millennial Rising: The Next Great Generation. New York: Random House.

Levy, M.; & Weitz, B. A. (2001). Retailing Management. 4th ed. NY: McGraw-Hill.

Matthews, Delisia. R.; Junghwa Son; & Watchravesringkan, Kittichai. (2014). An Exploration of Brand Equity Antecedents Concerning Brand Loyalty: A Cognitive, Affective, and Conative Perspective. Journal of Business and Retail Management Research. 9(1): 26-39.

Moore, Marguerite;l & Carpenter, Jason M. (2007). Intergenerational Perceptions of Market Cues among US Apparel Consumers. Journal of Fashion Marketing and Management. 12(3): 323-337.

Sanderson, C. (2010). Marketing to Generation Y: Understanding and Appealing to the Millennial Generation. White paper.

Downloads

Published

2024-04-29