ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในยุควิถีใหม่
An Analysis of Changes in Morality and Ethics of Rajabhat University’s Students in New Normal Era
Keywords:
คุณธรรม , จริยธรรม , นักศึกษา , ยุควิถีใหม่Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา และเพื่อศึกษาบทบาทในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา จําานวน 573 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ สอบถามข้อมูลทั่วไป สอบถามสําาหรับวัดระดับคุณธรรม จริยธรรมที่ควรเฝ้าระวัง และสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํา้า และการวิเคราะห์ล้อมกรอบข้อมูล สรุปผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และเดือนตุลาคม 2563 พบว่า1.1 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความซื่อสัตย์สุจริตมีค่าเท่ากับ 3.25 และ 3.25 คะแนน ตามลําาดับการวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนเท่ากันทั้ง 2 ครั้ง (C.V.(%) = .17)1.2 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความมีสติสัมปชัญญะมีค่าเท่ากับ 3.00 และ 2.99 คะแนน ตามลําาดับ การวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนเท่ากันทั้ง 2 ครั้งมีค่าใกล้เคียงกัน (C.V.(%) = .13, .14)1.3 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบมีค่าเท่ากับ 3.38 และ 3.38 คะแนน ตามลําาดับ จากการวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งใกล้เคียงกัน (C.V.(%) = .45, .47) 1.4 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้วัดความยุติธรรมมีค่าเท่ากับ 3.41 และ 3.41 คะแนน ตามลําาดับ การวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนเท่ากันทั้ง 2 ครั้งใกล้เคียงกัน (C.V.(%) = .17, .18)1.5 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความขยันหมั่นเพียรมีค่าเท่ากับ 3.12 และ 3.12 คะแนน ตามลําาดับการวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนเท่ากัน (C.V.(%) = .47)1.6 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความมีวินัยมีค่าเท่ากับ 3.34 และ 3.36 คะแนน ตามลําาดับ การวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้ง พบว่าการวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนใกล้เคียงกัน (C.V.(%) = .44, .45)1.7 ค่าเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ความอดทนมีค่าเท่ากับ 3.15 และ 3.14 คะแนน ตามลําาดับ การวัดความแปรปรวนทั้ง 2 ครั้งพบว่า การวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 และตุลาคม 2563 มีความแปรปรวนสูงสุดใกล้เคียงกันคือ (C.V.(%) = .45, .47)2. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้คุณธรรม จริยธรรมทั้ง 7 ตัวเป็นเส้นตรง และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยเป็นดังนี้2.1 ตัวบ่งชี้ที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเท่าเดิมคือ ความรับผิดชอบ2.2 ตัวบ่งที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นคือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรและความมีวินัย2.3 ตัวบ่งชี้ที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลดลงจากเดิมคือ ความมีสติสัมปชัญญะ ความยุติธรรม และความอดทน3. ผลการวิเคราะห์บทบาทในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในระดับตนเอง ระดับครอบครัวและระดับสังคมพบว่า ค่าความถี่และร้อยละเรียงตามลําาดับความสําาคัญของบทบาทในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในระดับตนเองมากที่สุดคือ การอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่คิดเป็นร้อยละ 47.295 รองลงมาคือ การเข้าไปศึกษาในอินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 20.268References
กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว และพิชชาดา ประสิทธิโชค. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมสําาหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.11(1): 211-220.
ทิพาพร สุจารี และ บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณธรรม จริยธรรมของเยาวชนในสถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณธรรม จริยธรรมของคนไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโดยใช้กระบวนการชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้โรงเรียนวัดแพรกนกเอี้ยง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 10(2): 157-169.
ปาริชาติ ธีระวิทย์. (2561). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสําาหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 11(1): 31-39.
พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2552). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ: กรณีศึกษากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นําาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. (2551). การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณธรรม จริยธรรมของคนไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงาน “เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19:วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ: สําานักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สําานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Enderle, C.F.; Silveira, R. S.; Dalmolin, G. L.; Lunardi, V. L.; Avila, L. I.; & Dominguez, C. C.(2018). Teaching Strategies: Promoting the Development of Moral Competence in Undergraduate Students. Revista Brasileira de Enfermagem. 71(Suppl 4): 1650-1656.