ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560
Factors Affecting Students’ Political Participation after the Promulgation of the 2017 Constitution
Keywords:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, นิสิตนักศึกษา, รัฐธรรมนูญ 2560Abstract
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม 2562 จำนวนมหาวิทยาลัยละ 60 คน จาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่นำมาสู่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษา และ3) วิเคราะห์ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่นิสิตนักศึกษาคิดว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมทุกครั้งที่มีโอกาสคือ การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง/ลงประชามติ รองลงมาคือการสนทนาทางการเมือง โดยบทบาทของสื่อประเภทออนไลน์ โดยเฉพาะ เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุด โดยกลุ่มนี้สนใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกวันหรือทุกครั้งที่มีโอกาส อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามุ่งมองต่อพรรคการเมือง นักการเมือง และสื่อมวลชน ส่วนใหญ่มักตั้งคำถามต่อการทำหน้าที่กลุ่มเหล่านี้ และมองว่าการที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมเพราะเป็นเรื่องของสิทธิ ต้องการเห็นการพัฒนาที่มากขึ้นของการเมือง และประชาธิปไตย ในขณะที่ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญกับการเอื้อต่อการมีส่วนร่วม พบว่า ส่วนใหญ่ตอบในทำนองเดียวกันว่า ไม่เอื้อ และผลการศึกษายังพบด้วยว่า ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในระดับที่สูงด้วยเช่นกันReferences
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 17 พฤศจิกายน 2539 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2540), หน้า 5.
บวรศักดิ์ อุวรรโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล, ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548), หน้า 25.
Lester W. Milbrath, Political Participation: How and Why do People Get Involved in Politics (Chicago: Rand MaNally, 1966), p.18.
จิราภรณ์ ดำจันทร์, ความนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้: ศึกษากรณีเขตเลือกตั้งที่ 1 และที่ 10 จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547).
วุฒิพล ลิ้มวราภัส, กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562).
เทอดศักดิ์ ยอแสงรัตน์ และวราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร, ทัศนคติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยภูเก็ต, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 37-57.
เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ, วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, ปีที่ 12 (ฉบับพิเศษ) (ตุลาคม 2561): 217-225.
สำราญ วิเศษ, การะบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1: มกราคม-เมษายน 2555: 5-12.
รพีพร ธงทอง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน, วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน, 2564): 27-40.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561, จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2561, http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.