การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนในฐานะชุมชน แห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสระแก้ว

The Study of Guidelines for Developing a School Learning Community: Case Study of Small Schools in Sa Kaeo Province

Authors

  • อัญชลี สุขในสิทธิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ , โรงเรียนขนาดเล็ก , จังหวัดสระแก้ว

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูและสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้กับโรงเรียนขนาดเล็กในเขตจังหวัดสระแก้ว กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาโรงเรียนและครูตามรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสระแก้ว ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียน ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สรุปความ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ต้องดำเนินการตามปรัชญา 3 ประการ คือ ปรัชญาความเป็นสาธารณะ ปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย และปรัชญาของความเป็นเลิศ ซึ่งโรงเรียนต้องมีการออกแบบการดำเนินงานตามแนวคิดโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียนร่วมกัน 2) การรับฟังซึ่งกันและกัน และสร้างความเป็นกัลยาณมิตร ระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เรียน 3) การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงานและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้กับครู 4) การสร้างครูและผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การสนับสนุนให้ครูและผู้เรียนมีการทำงานร่วมกันแบบ ร่วมมือรวมพลังและเป็นประชาธิปไตย 6) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของครู และผู้เรียน 7) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาแก่ผู้เรียน และ 8) การเผยแพร่องค์ความรู้ของโรงเรียนทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่สำหรับชุมชน ซึ่งในการขับเคลื่อนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ การลดความเป็นส่วนตัวของครู การเพิ่มความสามารถของครู การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้เรียนและเป็นประโยชน์

References

ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด "ชุมชนแห่งการเรียนรู้" กับการนำทฤษฎีมา ปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: ปิโก (ไทยแลนด์)

ทวีศักดิ์ หงส์เจริญ และ นันทรัตน์ เจริญกุล. (2563). ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในเขตพฒันาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้วตามแนวคิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. Educational Management and Innovation Journal. 3(1): หน้า 40-60.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420 (18 มีนาคม 2564)

Alonso, J. G. (2 0 0 2 ). Learning Communities: When learning in common means school success for all. MCT-STOKE ON TRENT-, 20(2), 13-17.

Boyd-Dimock, V., & Hord, S. M. (1994). Principals and the New Paradigm: Schools as Learning Communities. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association (New Orleans, LA, April 4-8, 1994). Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED373428.pdf

EDUCA. (2018). SLC - School as Learning Community โรงเรียนในฐานะชุมชมแห่งการเรียนรู้. สืบค้นจากhttps://www.educathai.com/knowledge/articles/480

Gabelnick, F., MacGregor, J., Matthews, R., & Smith, B. (1 9 9 0 ) . Learning Communities: Making Connections among Students, Faculty and Disciplines. San Francisco: Jossey-Bass.

Kruse, S. D., & Louis, K. S. (1993 ). An Emerging Framework for Analyzing School-Based Professional Community. The annual meeting of the American Educational Research Association.

Ross, J.A. and Gray, P. (2006) Transformational Leadership and Teacher Commitment to Organizational Values: The Mediating Effects of Collective Teacher Efficacy. School Effectiveness and School Improvement, 17, 179-199. Retrieved from https://doi.org/10.1080/09243450600565795

Sergiovanni, T. J. (1994). Building community in schools. San Francisco: Jossey-Bass.

Shapiro, Nancy S.; Levine, Jodi H. (1999). Creating Learning Communities: A Practical Guide to Winning Support, Organizing for Change, and Implementing Programs. Jossey-Bass Higher and Adult Education Series.

Smith, B., & MacGregor, J. (2009). Learning Communities and the Quest for Quality. Quality Assurance in Education, 17, 118-139.

Smith, D. A., O'Dell, I., & Schaumleffel, N. A. (2 0 0 2 ) . Building a learning community for fieldwork students: A case study example. Schole: A Journal of Leisure Studies and Recreation Education, 17(1), 21-36.

Downloads

Published

2023-02-17