กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชันสําหรับรถจักรยานยนต์เช่าในจังหวัดเชียงใหม่
Development of Applications for Motorcycle Rentals in Chiang Mai through Public Participation Process
Keywords:
แอปพลิเคชัน, ความปลอดภัยในการเดินทาง , รถจักรยานยนต์เช่า, นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อนำไปสู่การจัดการด้านความปลอดภัยในการเช่ารถจักรยานยนต์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.932 และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (400 กลุ่มตัวอย่าง) หน่วยงานภาครัฐ (50 กลุ่มตัวอย่าง) และหน่วยงานภาคเอกชน (50 กลุ่มตัวอย่าง) จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการจัดประชุมนำมาสู่ฟังก์ชันการใช้งานในแอปพลิเคชัน โดยถูกพัฒนาขึ้นจากประเด็นปัญหาและช่องว่างของการดำเนินงาน และผลจากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าฟังก์ชันที่มีผลต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายคือ ฟังก์ชันช่วยติดตามและติดต่อข้อมูลฉุกเฉิน (Exp(B) = 1.273) ฟังก์ชันที่สามารถประเมินทักษะผู้ขับขี่ได้ (Exp(B) = 1.255) ฟังก์ชันในการตรวจสภาพรถ (Exp(B) = 1.108) ฟังก์ชันข้อมูลการท่องเที่ยว(Exp(B) = 1.007) และฟังก์ชันข้อมูลด้านความปลอดภัย (Exp(B) = 0.973) เนื่องจากมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาการให้บริการโดยตรง ซึ่งมีส่วนช่วยในการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์และประเมินทักษะของผู้ขับขี่ก่อนและหลังการเช่ารถจักรยานยนต์ เพื่อเป็นขั้นตอนในการยืนยันความพร้อมของผู้ขับขี่ให้สามารถขับขี่อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ทำให้แอปพลิเคชันมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และมีความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวReferences
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554). แผนที่นําาทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.thairsc.com/th/Document/strategic_map_roadsafety.pd
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2555). โครงสร้างของแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนฉบับที่ 1 พ.ศ. 2548 – 2551. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://pknow.edupol.org/Course/C3/Karnpolice_group/subj_traffic/tf1/doc/030101-01.pdf โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธ การพิมพ์.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และสรารัตน์ ฉายพงษ์. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความปลอดภัยทางถนนสําาหรับการเช่ารถจักรยานยนต์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(2): 1-15.
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ. (2562). ข้อมูลอุบัติเหตุรายจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, http://www.thairsc.com/
สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2562). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2562-09/25620916Accident%20report2561%20_OTP.pdf
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2553 - 2562. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx
An, H. and Fu, R. (2005). The Subjective Factors Influence Tourists Risk Perception and Implications for Tourism Crisis Management. Zhejiang Acad J, 1: 196–200.
Banville C.; Landry M.; Martel J.-M.; & Boulaire C. (1998). A Stakeholder Approach to MCDA. System Research, 15(1): 15-32.Bryson, J. (2003). What to Do When Stakeholders Matter: A Guide to Stakeholder Identification, Analysis and Influence Techniques, A paper presented at the London School of Economics and Political Science.
Chen, YQ. and Zhang, H. (2012). Tourism Risk Cognitive Theory and Sports. J Suzhou Univ, 27(1): 87–91.Federal Highway Administration. (2020). SHSP Stakeholder. Retrieved June 1, 2020,from Involvementhttps://rspcb.safety.fhwa.dot.gov/noteworthy/pdf/FHWASA1102_shsp_stkhlderinvlvmnt.pdf
Federal Office of Road Safety. (1995). Safer Roads forYour Community. Canberra: Federal Office of Road Safety.Freeman, R. (1984). Strategic Management: A stakeholder approach. Boston: Pitman.
Haddon, W., Jr. (1980). Advances in the Epidemiology of Injuries as A Basis for Public Policy. Public Health Report, 95: 411-421.Hosmer DW & Lemeshow S. (1989). Applied Logistic Regression. New York: Wiley & Sons.
Iamtrakul, P.; Chaypong, S.; & Klaylee, J. (2019) Foreign Tourist Behavior and Perception of Motorcycle accident risk in Chiang Mai, Thailand. Lowland Technology International, 21(3): 187-196.Office of Permanent Secretary. (2006). Public Participation. Paper Presented at the Meeting of Development System Management. Bangkok: Office of Permanent Secretary.
Office of Road Safety. (1996). The Way Ahead: Road Safety: Directions for Western Australia. Perth: Government of Western Australia.
Raemdonck, K. V.; Novikova, E.; Malderen, F. V.; & Macharis, C. (2010). The Stakeholdersand Their Criteria in Road Safety Measures. Retrieved June 1, 2020, from http://www.steunpuntverkeersveiligheid.be/sites/default/files/RA-MOW-2010-002.pdf
Wang, FQ. (2010). Risk Society and the Risk Perception of The Current Chinese Population.J Shanghai Adm Inst, 11(2): 83–91.World Health Organization. (2004). World Report on Road Traffic Injury Prevention.Retrieved June 1, 2020, from http://whqlibdoc.who.int/publications/2004/9241562609.pdf
World Health Organization. (2018). Global Plan for Decade of Action for Road Safety 2018. Retrieve 1 June 2020, from https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/English-Summary-GSRRS2018.pdfWorld Health Organization. (2018). World Health Statistics 2018. Retrieved June 1, 2020, from http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272596/9789241565585-eng.pdf
Wu, B. H., Wang, X. and Li, M.M. (2001). Chinese College Students Perceive the Evaluationof Tourism Security Research. J Guilin Inst Tour, 12(3): 62–68.
Zhang, H.; Xu, F.M.; & Li, B. (2013). Based on Risk Perception of Climate Change. Adv Psychol Sci, 21(9): 1677–1685.