การส่งเสริมการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก
A strategy to Develop Nakhon Nayok to Become a Destination for Sports Tourism in the Adventure Dimension
Keywords:
การท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, ศักยภาพการท่องเที่ยวAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพความสามารถสิ่งดึงดูดใจ การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการ ที่พัก และกิจกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) คือหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน นักวิชาการจำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือคือการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก(in-depth interview) แบบกึ่งมีโครงสร้างจากข้อมูลด้านศักยภาพการท่องเที่ยว ข้อมูลด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว และข้อมูลสภาพปัญหาและอุปสรรค การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดความสำคัญ จัดกลุ่มเนื้อหา การวิเคราะห์จำแนกสรุปประเด็นสำคัญและการวิเคราะห์ swot analysisผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหา ของการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก ได้แก่ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึงทั้งจังหวัด และปัญหาการจราจรเพราะมีการใช้ยานพาหนะส่วนตัวมาก ทั้งก่อความไม่สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว ด้านอุปสรรค คือขาดการทำงานแบบบูรณาการและขาดเป้าหมายทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 2) จังหวัดนครนายก มีศักยภาพท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในด้านสิ่งดึงดูดใจคือทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ศักยภาพด้านที่พัก ด้านการเข้าถึง และด้านกิจกรรมควรปรับปรุง การวิเคราะห์ swot analysis มากำหนดเป็นกรอบการสังเคราะห์ด้วยเทคนิค tows matrix analysis เพื่อนำเสนอในรูปแบบโมเดล paradigmได้แก่ การเข้าถึง (accessibility) กิจกรรม (activity) ความคาดหวัง (anticipation) พัฒนาธุรกิจที่พักแรม (place) บุคลากรด้านการบริการ (people ) พัฒนาการทำงาน (policy) พัฒนาโครงสร้างแผนงานชัดเจนเป็นระบบ (plan) พัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์ (promotion) พัฒนาการทำงานโดยให้บทบาทสำคัญกับทุกฝ่าย (participation) ส่งเสริมให้มีสนามฝึกซ้อมกิจกรรมกีฬาเชิงผจญภัย(practice field)References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว (ฉบับที่ 6 ต.ค.-ธ.ค.2559). กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). สรุปผลงานวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์และโอกาสการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวกลุ่ม Eco & Adventure ไตรมาสที่ 3/2556 (กรกฎาคม-กันยายน 2556). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์. (2544). พัฒนาชนบทยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สาขาเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). การบริหารผลงานเชิงกลยทุธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอด็ยเูคชั่น.
บุษบา สิทธิการ และสิริวัฒนา ใจมา. (2553). รายงานวิจัยการพัฒนาบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนความพร้อมของเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในกลุ่มภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
พรทิพย์ รุ่งเรือง. (2559). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวแบบผจญภัย จังหวัดนครนายก. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา. ถ่ายเอกสาร.รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์.(2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). รูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2562, จาก https://tourismatbuu.wordpress.com/
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤตกิรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สําานักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์ม และ ไซเท็ก จํากัด.สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุรเชษฎ์ เชษฐมาส. (2541). วิสัยทัศน์การจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ในรายงานการฝึกอบรมหลักสูตรการให้บริการด้านการท่องเที่ยวสําาหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: สํานักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้.
Weed & Bull. (1997). Influences on Sport Tourism Relations in Britain: the Effects of Government Policy. Tourism Recreation Research, 22(2): 5-12.