ชุมชนกับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวกรณีศึกษาบ้านมาย ตําบลวังเงิน อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง
Community and Preparing of Earthquake Disaster: A Case Study of Banmind, Wangngoen Sub-District, Maetha District, Lampang Province
Keywords:
การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ, การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน, แผ่นดินไหวAbstract
การศึกษาเรื่อง ชุมชนกับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวในพื้นที่บ้านมาย ตําบลวังเงิน อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวของชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวของประชาชน 3) เพื่อเสนอแนวทางบริหารจัดการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวของชุมชน โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือและวิธีการดําาเนินงานวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย เอกสาร ตํารา ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าประชาชนที่อาศัยในชุมชนบ้านมาย ไม่ทราบว่า ชุมชนมีความเสี่ยงจากการเกิดแผ่นดินไหว และประชาชนทุกคนไม่ทราบขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะทราบวิธีการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวจากหอกระจายข่าวหมู่บ้าน โทรทัศน์ และวิทยุ ก็ตาม แต่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวของประชาชน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านจิตสํานึก และด้านทัศนคติ สําหรับแนวทางการบริหารจัดการของชุมชน ประกอบด้วยด้านการป้องกัน ด้านระบบการบริหารจัดการ และด้านการสนับสนุนฟื้นฟูReferences
กรมทรัพยากรธรณี. (2562). แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย 16 กลุ่มรอยเลื่อน. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก http://www.dmr.go.th/n_more.php?c_id=11#
กรมทรัพยากรธรณี. (2553). แผนที่แสดงกลุ่มรอยเลื่อนเถิน จังหวัดลําปาง. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/bypunnee/2013/03/27/entry-3
ชาลี เบญจวงศ์. (2550). การรับรู้ภัยจากดินถล่มและการเตรียมความพร้อมรับภัยดินถล่มของประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยง จังหวัดหนองบัวลําภู. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). เลย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ถ่ายเอกสาร.
ชูวงศ์ อุบาลี. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษา อาคารเคหะชุมชนเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (บริหารรัฐกิจ). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ธีระดา ภิญโญ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสําหรับงานวิจัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(ฉบับพิเศษ): 292-304.
นิลุบล สู่พานิช. (2549). แนวทางการปฏิบัติงานสําหรับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คลังวิชา.
บุตรฉัตร กันตะกะนิษฐ์. (2555). การเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตําาบลสันกําแพง อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ่ายเอกสาร.
ปัญญา จารุศิริ และคณะ. (2547). การสํารวจรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและลําปาง-แพร่. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ราเชนทร์ พูลทรัพย์. (2560). แนวทางการจัดการตนเองของชุมชนจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(1): 82-97.
สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. (2557). แผ่นดินไหว กรณีศึกษา การแยกของดินที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและการเฝ้าระวัง. การสัมมนาเรื่อง การซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหายจากภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย. 3-4 กรกฎาคม 2557 โรงแรมเวียงอินทร์ จังหวัดเชียงราย.เชียงราย.
สุวิทย์ โคสุวรรณ. (2561). แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ.2561. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ GEOTHAI’ 2018. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี.
อมรา จันทรมานะ. (2548). กระบวนการติดต่อสื่อสารภายในชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุก ตําบลสามชุก อําเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ สส.ม. (สังคมสงเคราะห์):กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
องค์การบริหารส่วนตําาบลวังเงิน. (2559). แผนพัฒนาสามปี. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก http://www.wangngoen.go.th/images/doc/แผนพัฒนาสาม ปี%20(พ.ศ.2559%20-%202561).pdf.
Rodklai, Amorn. (2010). การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน เรียบเรียงจาก Diaster Management By P.Vurun Kum, Community-Based Disaster ManagementFlash Flood Early Warning System Reference Guide, Chapter 7. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2562, จาก http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=5&cad=rja&uact=8&ved= 0ahUKEwjKoqPG_dvOAhUJbRQKHYY_DgIQFghEMAQ&url=http%3A%2F%2F www.aihd.mahidol.ac.th%2Faihd_download%2F%3Fdl_name%3DDisaster10-12_10_2012%2 Fdisaster_amorn.pdf&usg=AFQjCNGLuLPjLNBRN9_I9D_MXn4Wv7RuHA&bvm=bv.130731782,d.bGg.