การติดตามและการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตจังหวัดอุดรธานี
Monitoring and Prediction of Future Land Use Changes in Udon Thani Province
Keywords:
แบบจําาลอง CA-Markov, แบบจําาลอง Land Change Modeler, การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินAbstract
ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดอุดรธานี เป็นสาเหตุสําคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะการขยายตัวของพื้นที่เมืองและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อการรองรับการพัฒนาและการเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สําคัญให้กับภูมิภาคและประเทศดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลในหลายช่วงเวลา ร่วมกับการประยุกต์แบบจําาลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และแบบจําาลอง CA–Markov และแบบจําลอง Land Change Modeler (LCM) ในการคาดการณ์การใช้ที่ดินในอนาคตของจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2580 ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 5 และ 8 พ.ศ. 2552 2557 และ 2562 ถูกจําแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชน นาข้าว อ้อย มันสําปะหลัง ยางพารา เกษตรกรรมอื่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ และพื้นที่อื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วง พ.ศ. 2552-2562 พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่นาข้าวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยางพารามันสําปะหลัง และอ้อย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจมีพื้นที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่า พื้นที่ชุมชน และพื้นที่แหล่งนํา้า มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากพิจารณาความถูกต้องของการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ พบว่า แบบจําาลอง LCM มีความถูกต้องของมากกว่าแบบจําลอง CA-Markov โดยมีความถูกต้องเท่ากับ ร้อยยละ 85 และ 79 ตามลําดับ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงใช้แบบจําลอง LCM ในการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2580 โดยผลการคาดการณ์พบว่า พื้นที่ปลูกอ้อย มันสําปะหลัง พื้นที่ชุมชน และพื้นที่แหล่งน้ำ จะมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 1,229.88, 319.06, 116.41 และ 52.67 ตร.กม.ตามลําาดับ ส่วนพื้นที่นาข้าว ยางพารา พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่อื่น ๆ และพื้นที่เกษตรกรรมอื่น ๆ มีแนวโน้มว่าจะลดลงเท่ากับ 922.43, 316.47, 272.02, 185.54, และ 21.57 ตร.กม. ตามลําาดับReferences
ณัฐนิชา ผ่องพุฒิ, อรอนงค์ ผิวนิล, เกษม จันทร์แก้ว, และสุรชัย รัตนเสริมพงศ์. (2559). ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการเกิดดินถล่มในพื้นที่สูงชัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 44(1): 212-221.
ธีระ ลาภิศชยางกูล. (2550). การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากการจําาแนกภาพดาวเทียม.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(3): 17-27.
ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ. (2557). คาดการณ์การใช้ที่ดินลุ่มน้ำลําตะคอง พ.ศ. 2567 ด้วยแบบจําลอง CA-MARKOV. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17 (มกราคม-ธันวาคม 2557): 94-113.
ธีรวัฒน์ สุวรรณเลิศเจริญ, ศิริลักษณ์ พฤกษ์ปิติกุล, วราทิพย์ บัวแก้ว, และณัทธร แก้วภู่. (2556). การเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุม โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศบริเวณลุ่มน้ำคลองกุย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. รายงานการประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจําปี 2556. กรุงเทพฯ.
สํานักงานจังหวัดอุดรธานี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2561-2564 ฉบับทบทวน.ประจําาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สําานักงานจังหวัดอุดรธานี.
สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2552). ตําาราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จําากัด (มหาชน)
Congalton, R.G. & Green, K. (2008). Assessing the Accuracy of Remotely SensedData: Principles and Practices. Boca Raton. FL: Lewis Publishers.
Clark, L. (2013). IDRISI Spotlight: The Land Change Modeler. USA: Clark Labs, Clark University.
Eastman, J. R. (2012). IDRISI SELVA Manual. USA: Clark Labs, Clark University.
Pontius, R.G., Jr.(2000). Quantification Error Versus Location Error in Comparison of Categorical Maps. Photogrammetric Engineering & Remote Sensing, 66(8): 1011–1016.
Tommaso, Toffoli, & Norman Margolus. (1987). Cellular Automata Machines: A New Environment for Modeling. Cambridge, MA: MIT Press.
U.S. Federal Interagency Coordinating Committee on Digital Cartography. (1988). A Summary of GIS Activities in the Federal Government. Washington DC: Federal Interagency Coordinating Committee on Digital Cartography.