ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

Factors of Land Use Change in Laemphakbia Sub District Area, Banlaem District, Phetchaburi Province

Authors

  • กชกร นํ้าด้วง คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อลงกรณ์ อินทรักษา คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรอนงค์ ผิวนิล คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นพวรรณ เสมวิมล คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน, การตั้งถิ่นฐาน, แหลมผักเบี้ย

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเปรียบเทียบรูปแบบและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณตําาบลแหลมผักเบี้ยด้วยวิธีการศึกษา2 วิธี คือ จัดทําแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเปรียบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินใน พ.ศ. 2519 2538 และ 2562 และเก็บข้อมูลทางสังคมด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า พ.ศ. 2519 ถึง 2562 มีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน คิดเป็นร้อยละ 53.93 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่นาข้าวเปลี่ยนเป็นพื้นที่นาเกลือ 1,782.88 ไร่ พื้นที่ทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ เปลี่ยนเป็นพื้นที่นาเกลือ 640.35 ไร่และป่าชายเลน เปลี่ยนเป็นพื้นที่นาเกลือ 473.66 ไร่ สําาหรับผลการเก็บแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 103 ครัวเรือน ประกอบไปด้วยสมาชิกทุกครัวเรือนรวมกันทั้งสิ้น 411 คน พบว่า มีเพียงร้อยละ9.1 ที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่ศึกษามากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 86.8 ของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด สาเหตุของการย้ายถิ่นมากจากเหตุผลส่วนตัว ร้อยละ 85.7 เพื่อหาอาชีพหรือพื้นที่ทํากิน ร้อยละ 9.9 และปัญหาทางกายภาพของพื้นอยู่อาศัยเดิมร้อยละ 4.4 สามารถสรุปได้ว่า 1) ปัจจัยด้านสังคม มีความสําาคัญมากที่สุดในเข้ามาตั้งถิ่นฐาน 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ที่มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งซึ่งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากผลผลิตทางเกษตรกรรม นาเกลือ และการทําประมง และ 3) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสุดท้ายที่ทําให้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากที่อยู่อาศัยเดิม

References

กรมแผนที่ทหาร (ส่วนที่ 3). (2562). ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการกองทัพไทย.กรมอุตุนิยมวิทยา. 2563. ข้อมูลภูมิอากาศในช่วง พ.ศ. 2530–2563 สถานีเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร.

จิตรายุส์ พฤกษ์ภัทรกุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ชุมชนโดยรอบอุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.(วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

พุธพงษ์ นฤภัย. 2557. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ทีดินนาเกลือ จังหวัดเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์ ผ.ม. (การวางแผนภาคและเมือง). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.

เพ็ญพิชชา ชูศรี อลงกรณ์ อินทรักษา และอรอนงค์ ผิวนิล. (2558). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรในเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติดินถล่ม บริเวณหมู่บ้านหน้าถํา้าและหัวเตย ตําาบลท่าอุแท อําาเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18: 146-160.

สําานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําาริ (สําานักงาน กปร.).(2534). โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563, จาก http://www.rdpb.go.th/th/Projects

สําานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2562) ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สําานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). รายงานสถิติจํานวนประชากรและบ้าน. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก http://stat.dopa.go.th

Taro Yamane. 1973. Statistics: An Introductory. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

Published

2024-04-29