อิทธิพลของการรับรู้ต่อการยอมรับนวัตกรรมการใช้ระบบหญ้าแฝก เพื่อป้องกันดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตร
Influence of the Acknowledging the Vetiver SystemInnovation Utilization for Landslide Preventionin Agricultural Land
Keywords:
การรับรู้, หญ้าแฝก, การยอมรับ, ดินถล่ม, พื้นที่การเกษตรAbstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ ยอมรับหญ้าแฝกไปใช้ในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันดินถล่ม ของเกษตรกรในพื้นที่ตำ บลห้วยเขย่ง อำ เภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีจากกลุ่มตัวอย่าง 383 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามที่มาจาก การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การแจกแจงความถี่แบบสองทาง หรือการวิเคราะห์ตารางไขว้ (Crosstabs) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ของการรับรู้และการยอมรับนวัตกรรมการใช้ระบบหญ้าแฝกในพื้นที่ทางการเกษตร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ขอมูลเกี่ยวกับหญ้าแฝกในการเป็นวิธีพืช ที่มี ระบบรากผสานกันเป็นร่างแหเพื่อช่วยในการยึดเกาะเนื้อดิน และเป็นวิธีการที่สามารถใช้ในการป้องกัน การชะล้างพังทลาย และป้องกันดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตรได้ ในขณะที่รูปแบบการรับรู้เกี่ยวกับ หญ้าแฝกมีผลต่อกระบวนการยอมรับนวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากระบบหญ้าแฝกเพื่อการป้องกัน ดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตร ใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นความรู้การจูงใจ การตัดสินใจ และการยืนยัน ในการที่จะนำ หญ้าแฝกไปใช้ต่อไปในอนาคต แต่ไม่ส่งผลต่อแนวโน้มในการนำ หญ้าแฝกไปใช้ ดังนั้น สำ หรับการดำ เนินการส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกเพื่อการป้องกันดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตรจึงควร ดำ เนินการควรคู่กับการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เน้นการสร้างทักษะการเรียนรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการ สร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับหญ้าแฝกให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นและยืนยันที่ จะนำ หญ้าแฝกไปใช้ในการป้องกันดินถล่มในพื้นที่ทางการเกษตรต่อไปในอนาคตReferences
กรมทรัพยากรธรณี. (2554). เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี.
มัณฑนา จํารูญศิริ และคณะ. (2559). การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทําาให้เกิดภัยพิบัติดินถล่มในพื้นที่ลุ่มนํา้าแม่พูล และแม่พร่อง ตําบลแม่พูล อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19(19): 146-160.
ยุราวดี เนืองโนราช. (2558). จิตวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Abate, H. & Simane, B. (2014). Multiple Benefits of the Vetiver System and ITS Environmental Application in Ethiopia. Retrieved on August 9, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/303145735
Gregory, R. (1970). The Intelligent Eye. London: Weidenfeld and Nicolson.
Rogers, E. M. (1983). Diffusion of Innovations. New York: The Free Press.
Rogers, E. M. and Shoemaker, F. (1971). Communication of Innovations: A Cross Cultural Approach. New York: The Free Press. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED064302.pdf
Suarau O. & Oreva A. (2017). Vetiver Grass: A Tool for Sustainable Agriculture.Retrieved on August 28, 2019, from https://cdn.intechopen.com/pdfs/55730.pdf.
Terefe, T. (2011). Farmers’ Perception on the Role of Vetiver Grass in Soil and Water Conservation in South Western Ethiopia. Retrieved on May 10, 2019, from https://www.vetiver.org/ETH_Talube.
Truong, P., Tan Van, T., & Pinners, E. (2008). The Vetiver System for Agriculture. South Carolina: CreateSpace Independent Publishing Platform.
Wang, Y., & Ruhe, G. (2007). The Cognitive Process of Decision Making. Retrieved on August 9, 2019, https://pdfs.semanticscholar.org/7d63/1e6580dbd4dc92a3e12f-29fb3f2a50651537.pdf
Xu, L. (2009). Application and Development of the Vetiver System in China: 20 YearExperience Retrospection. Bangkok: Office of the Royal Development Projects Board.
Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: John Weatherhill, Inc.