ระบบบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา

The Risk Management System for School AcademicAffair Administration

Authors

  • ประนอม ศรีดี วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อุทัย บุญประเสริฐ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สรรเสริญ สุวรรณ์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Keywords:

ระบบบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการ, การจัดระบบบริหารจัดการความเสี่ยง, การบริหารความเสี่ยง, การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ แนวปฏิบัติสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 2) เพื่อเสนอระบบบริหาร ความเสี่ยง ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในภาคปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ในส่วน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การตรวจสอบร่างระบบในขั้นต้น ดำ เนินการวิจัยโดย 1) การศึกษาหลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ ในการบริหารความเสี่ยงในองค์การต่าง ๆ และในสถานศึกษา 2) การศึกษาเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ ผู้มีประสบการณ์ในการทำ งานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานและสถานศึกษา 3) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และข้อเสนอแนะจากสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน และ 4) การนำ เสนอระบบบริหารความเสี่ยงในงานด้านวิชาการในสถานศึกษา ที่มีความเหมาะสมและ มีความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติในระดับการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์ผลโดยหาค่าความถี่ (Frequency)และค่าร้อยละ (Percentage)แล้ว ตรวจสอบร่างระบบด้วยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานศึกษาในปัจจุบันพบว่าการบริหารจัดการความเสี่ยง มีเพียงระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) เป็นเครื่องมือติดตามการดำ เนินงานตามภารกิจ และในมาตรฐานการประเมินผล การควบคุมภายใน จะมีการประเมินความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนควบของระบบการ ควบคุมภายในอยู่ส่วนหนึ่ง แต่มิได้มีการบริหารความเสี่ยงในงานการบริหารด้านวิชาการโดยตรงแต่ อย่างใด 2. ระบบบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาที่นำ เสนอจากการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย 1) การจัดระบบบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษา และ 2) กระบวนการ บริหารความเสี่ยงตามขอบข่ายงานด้านการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในด้านการจัดระบบ บริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาจะครอบคลุมหลักการ วัตถุประสงค์ และการจัดโครงสร้าง การดำ เนินงานเฉพาะด้านการบริหารความเสี่ยงในด้านการบริหารงานวิชาการในระดับสถานศึกษา ในด้านกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามขอบข่ายงานด้านการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ประกอบด้วย1) การระบุวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง 2) การจัดทำแผนและการบริหารความ เสี่ยง 3) การติดตาม และการรายงานความก้าวหน้าของการบริหารความเสี่ยง 4) การประเมินผล และการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงในงานวิชาการของสถานศึกษา

References

กนกวรรณ จันทร. (2555). การบริหารความเสี่ยงในห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (บรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

กิตติ โสภาที และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2558). แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ สังกัดสําานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(3): 336-348.

กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการจัดวางระบบการควบคุมภายในและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559, จาก www.kpru.ac.th/th/internal-audit/manual56.pdf

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ราชกิจจานุเบกษา, 124 (24 ก). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2559, จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Category/Laws/RuleMetDistEdMnt2550-02-12-2010.pdf

เจริญ ศรีแสนปาง. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนประถมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ถ่ายเอกสาร.

ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก, ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

โนเรีย บินหะยีนิยิ. (2555). การบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์บธ.ม. (การจัดการ), กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ถ่ายเอกสาร.

ประวัติ ยงบุตร. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรในสําานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา), พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. ถ่ายเอกสาร.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.). (2557). กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร. สืบค้นเมื่อ10 กันยายน 2559, จาก http://www.set.or.th/th/about/overview/files/ERM_Framework_2016.pdf.

พิสันติ์ จันทร์เขียว. (2555). การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายแม่วิน อําาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่, วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา), เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.

สุภาพร ชมระกา. (2557). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การบริหารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:สําานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2560). คู่มือควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: สําานักงานตรวจเงินแผ่นดิน.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2529). วิธีการหรือเทคนิคเชิงระบบกับการบริหารโรงเรียน. เอกสารประกอบโครงการ สัมมนาทางวิชาการเรื่องหลักและแนวทางในการบริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ(น.14). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

Semprevivo, Philop C. (1976). “System Analysis,” Definition, Process, and Design.Chicago: Science Research Association.

Downloads

Published

2024-04-29