การหาจุดจอดจักรยานที่เหมาะสมบนถนนราชพฤกษ์ กรุงเทพมหานคร

Finding Suitable Bicycle Parking Lotson Ratchapruek Road, Bangkok Metropolis

Authors

  • จารุกิตติ์ แสนพลสิทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ประพัทธ์พงษ์ อุปลา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

จุดจอดจักรยาน, ระบบขนส่งสาธารณะ, การวิเคราะห์โครงข่าย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยและจุดจอดจักรยานที่เหมาะสมให้เอื้อต่อระบบขนส่งสาธารณะ บนถนนราชพฤกษ์กรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาจุดจอดจักรยานที่เหมาะสม มีกลุ่มตัวอย่างจำ นวน 217 คน ที่เป็นผู้ใช้งาน ระบบขนส่งสาธารณะ 6 ประเภท ได้แก่รถไฟฟ้าBTS รถไฟฟ้า MRTรถโดยสารประจำ ทางด่วนพิเศษ BRT รถโดยสารประจำ ทาง ขนส่งทางราง และขนส่งทางเรือ โดยจำแนกประเภทเส้นทางจักรยาน ที่เข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT จากตำแหน่งรถไฟฟ้า BTS และ MRT (บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด. 2557) ในระยะการเดิน 600 เมตร เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ ประเภทอื่น ๆ และนำข้อมูลการใช้ประโยชน์อาคารจำแนกประเภทพื้นที่การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ขนส่งมวลชน (Transit-oriented Development: TOD) ในพื้นที่เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ และวิเคราะห์เส้นทางการเดินเท้าจากตำแหน่งที่พักอาศัยในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT ในระยะการเดิน 600 เมตร ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพจุดจอดจักรยานมากที่สุด เป็นจุด เชื่อมต่อรถไฟฟ้า (2 สาย) รถเมล์ และรถไฟ คือ บริเวณวงเวียนใหญ่ (สายสีม่วง) วงเวียนใหญ่ (สายสีแดงเข้ม) นับเป็นพื้นที่TOD Urban Centerความต้องการจุดจอดของผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีความต้องการจุดจอดที่ห่างจากสถานีไม่เกิน15เมตรโดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณสถานีที่สามารถรองรับได้ 5 – 10 คัน มีสิ่งอำ นวยความสะดวก เช่น กล้อง CCTV ไฟส่องสว่าง มีโครงเหล็กไว้ให้ล็อคจักรยาน และมีหลังคากันแดดกันฝน ทั้งนี้ควรมีการศึกษาแนวทางการทำ ทางจักรยานข้ามทางแยกและการพัฒนา ทางจักรยานที่มีความปลอดภัยเช่น จุดเสี่ยงต่อการเดินอุบัติเหตุจุดเปลี่ยว พื้นที่รกร้างไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อความปลอดภัยและมีความต่อเนื่องในการเดินทางโดยใช้จักรยาน

References

กรมทางหลวงชนบท. (2558). ปริมาณการจราจร. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561, จาก http://crd.drr.go.th/

_______________. (2559). โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์ – ถนนกาญจนาภิเษก (แนวเหนือ - ใต้). สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก http://www.ratchaphruek-ns.com/

ฐนวัฒน์ ศิริวราวาท. (2557). การประเมินความพึงพอใจในการใช้จักรยานเพื่อการเดินทาง กรณีศึกษาจักรยานสาธารณะปันปั่น. (ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร.สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Tanawat_Siriwarawat/fulltext.pdf

บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด. (2557). รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT (Bus Rapid Transit: BRT) บีทีเอสซีเริ่มดําาเนินการรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เส้นทางแรกในนามของ กทม. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก http://www.thanakom.co.th/thanakom/brt.html

ประพัทธ์พงษ์ อุปลา. (2555). แนวทางการพัฒนาเมืองจักรยาน (Vol. 1). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิโรจน์ ศรีสุรภานนท์ และคณะ. (2546). แนวทางในการพัฒนาการใช้จักรยานในกรุงเทพมหานคร.สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4530007

สรณรัชฎ์ กาญจนะวนิชย์ และศิระ ลีปิพัฒนวิทย์. (2555). Bangkok bike map แผนที่ปั่นเมือง: คู่มือหาเส้นทางจักรยานกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโลกสีเขียว.

สํานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2557). โครงการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport: NMT) และการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561, จาก http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=27

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

Published

2024-04-29