พื้นที่สาธารณะบนสื่อสังคมออนไลน์กับบทบาทพลเมือง กรณีศึกษา ตำบลคอรุม จังหวัดอุตรดิตถ์
Public Space on Social Media and the Citizenship Role: The Case Study of Korrum Subdistrict, Uttaradit Province
Keywords:
บทบาทพลเมือง, พื้นที่สาธารณะ, สื่อสังคมออนไลน์Abstract
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอ้างอิงต่อเนื่องปากต่อปาก (Snowball Sampling) ของประชาชนทั่วไปและกลุ่มพลเมืองผลการศึกษาพบว่า บทบาทและกระบวนการการมีส่วนร่วมของพลเมืองคอรุม ผ่านพื้นที่สาธารณะโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่นโดยแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) ระดับการให้ข้อมูล (Informing) 2) ระดับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Information Provision) 3) ระดับการปรึกษาหารือ (Consultation) 4) ระดับการสร้างความร่วมมือ การวางแผนร่วมกัน (Involvement) 5) ระดับการร่วมดำเนินการ (Partnership) และ6) ระดับการควบคุมโดยประชาชน (Citizen Control) โดย อบต.คอรุมส่งเสริมให้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการดำเนินกิจกรรมของทางหน่วยงาน ตั้งแต่การให้ข้อมูลผ่าน แพลตฟอร์ม ไลน์ เฟสบุ๊คและเว็บไซต์ ที่จัดทำโดย อบต.คอรุม โดยใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร ตลอดจนใช้เป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมอันจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์นี้จึงเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) อบต. คอรุมสามารถรับรู้ถึงปัญหา และความต้องการของประชาชน ประชาชนก็มีช่องทางในการสื่อสาร และส่งเสียงถึงภาครัฐ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการหรือการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ อบต. คอรุม มีความเป็นพลเมืองที่เข้าใจต่อปัญหาของชุมชน สังคม พยายามเข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหา มองปัญหาที่เกิดขึ้นแบบองค์รวม สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกับคนในชุมชนท้องถิ่นหันมาใส่ใจเรื่องของชุมชน ท้องถิ่น และรู้จักสิทธิหน้าที่อันพึงมีของตนเองเป็นอย่างดีReferences
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน “The PublicParticipation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement”. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1): 123-141.
ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(1): 92-103.
Cogan, J. J., & Kubow, P. K. (1997). Multidimensional Citizenship: Educational Policy for the Twenty-first Century. Retrieved on March 8, 2019, from https://digitalcommons.unomaha.edu/slceinternational/2
Kemp, S. (2018). Digital in 2018: World’s Internet User Pass the 4 Billion Mark.Retrived on November 15, 2019, from https://wearesocial.com/blog/2018/01/global-digital-report-2018