การส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนิสิตครูโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานและชุมชนเป็นฐานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์: กรณีศึกษานิสิตครูสาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Promoting Historical Thinking Skills of Pre-Service Teachers Through Project and Community Based Learning with Historical Method: A Case Study of Pre-Service Teachers of Social Studies at Srinakharinwirot University

Authors

  • ศุภณัฐ พานา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน, วิธีการทางประวัติศาสตร์, ทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนิสิตครูสาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่เรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานและชุมชนเป็นฐานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง ตลอดจนความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนรู้ด้วยกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีระยะเวลาเก็บข้อมูล 15 สัปดาห์ กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การการออกแบบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานและชุมชนเป็นฐานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ และระยะที่ 2 การทดลองใช้การเรียนการสอนดังกล่าว กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นอาสาสมัครเข้ารับการทดลองจำนวน 34 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นิสิตครูทีเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานและชุมชนเป็นฐานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์มีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (2) นิสิตครูมีความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบโครงงานและชุมชนเป็นฐานร่วมกับวิธีการทางประวัติศาสตร์

References

ทิศนา แขมณี. 2552. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวการสอนประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทยหลากหลายวิธีเรียน. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Beakley, B. A., Yoder, S. L. & West, L. L. (2003). Community-based instruction: A guidebook for teachers. Council for Exceptional Children, Arlington. US.

The College Board. (2012). AP WORLD HISTORY. New York. US.

ชวนพิศ สิริพันธนะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้คติชนวิทยาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Colby, S. R. (2007). Students as Historians: The Historical Narrative Inquiry Model’s Impact on Historical Thinking and Historical Empathy. (Doctoral dissertation), University of North Texas.

มณฑา ชุ่มสุคนธ์ และคนอื่น ๆ. (2557). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7: 423-435.

จักรพงศ์ แพทย์หลักฟ้า และคณะ. 2556. การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 14 (2) มกราคม – มิถุนายน. 35-48

Ferretti, R. P., MacArthur, C. D., & Okolo, C. M. (2001). Teaching for Historical Understanding in Inclusive Classrooms. Learning Disability Quarterly, 24 (1), 59-71.

Fischer, G., Rohde, M. & Wulf, V. 2007 Community-based learning: The core competency of residential, research-based universities. International Journal for Computer-Supported Collaborative Learning. 2 (1), 9-40.

Ibrahim,F., & Reid, V. (2010). Integrated Use of Information Technology and People Involvement for Knowledge Management. The International Journal of Technology, Knowledge and Society. 6 (2), 163-180.

Lowenthal, Jeffrey N. (2006). Project Based Learning and New Venture Creation. The Nciia 10th Annual Meeting, March 23-25. Northern State University. Retrieved from http://www.nciia.org

Mergendollar, John R. et al. (2006). Pervasive management of Project-Based Learning: Teachers as Guides and Facilitators. Buck Institution for Education. Retrieved from http://www.bie.org

University of Pretoria. 2007. Introduction to community-based learning. Retrieved from http://en.wikiversity.org/wiki

Downloads

Published

2023-12-28