ความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อพื้นที่ชนบทของประเทศไทย

Collaboration in Increase Production of Doctorfor Rural Area of Thailand

Authors

  • วรสิทธิ์ เจริญศิลป์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ชัยกิจ อุดแน่น ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Keywords:

ความร่วมมือ, การจัดการภาครัฐแบบร่วมมือ, กําลังคนด้านสุขภาพ

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่นำ ไปสู่ความร่วมมือและกระบวนการจัดการ ความร่วมมือในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธี ดำ เนินการวิจัยด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูล จำ นวน 12 คน ผลการวิจัยค้นพบว่าเงื่อนไขที่นำ ไปสู่ความร่วมมือในโครงการผลิตแพทย์ เพิ่มเพื่อชาวชนบท ได้แก่ (1) ปัญหาสมองไหลและการกระจายตัวของแพทย์ในพื้นที่ชนบท (2) ความ ไม่มีประสิทธิผลของการรักษาแพทย์ให้คงอยู่ในพื้นที่ชนบท (3) ความร่วมมือที่มีอยู่เดิมในการการผลิต แพทย์เข้าสู่ระบบราชการ สำ หรับกระบวนการจัดการความร่วมมือ พบว่าโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อ ชาวชนบทมีสำ นักงานบริหารโครงการแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือ มีโครงสร้างความร่วมมือแบบเป็นทางการค่อนข้างสูงและอิงอาศัยกับระบบราชการแบบสายบังคับ บัญชาเป็นหลัก รวมทั้งมีการบริหารจัดการความร่วมมือผ่านการพึ่งพาอาศัยทรัพยากรจากเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐหลายองค์กรใน 3 มิติได้แก่ การผลิตแพทย์ การจัดสรรแพทย์และการติดตาม แพทย์ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รูปแบบความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อพื้นที่ชนบทที่เกิดขึ้นได้ สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการจัดการภาครัฐที่อาศัยแนวคิดการพึ่งพาทรัพยากรและแนวคิดเครือข่าย เป็นฐานของการดำ เนินงาน

References

ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. (2559). กําลังคนสุขภาพในฐานะแรงงาน: ปัญหาและทางออกของระบบสุขภาพไทย. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก https://www.hfocus.org/content/2016/04/12004.

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย และคณะ. (2558). การบริหารจัดการโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทและโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอําเภอหนึ่งทุน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 9(2): 146-159.

ฑิณกร โนรี. (2551). วิกฤตความขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย: ทิศทางและแนวโน้ม. นนทบุรี: สํานักงานวิจัยและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ.

นงลักษณ์ พะไกยะ และเพ็ญนภา หงส์ทอง. (2554). กําลังคนด้านสุขภาพ ที่เป็นมา เป็นอยู่และจะเป็นไป. นนทบุรี: สํานักงานวิจัยและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพ.

นงลักษณ์ พะไกยะ, สัญญา ศรีรัตนะ, กฤษฎา ว่องวิญญู, จิราภรณ์ หลาบคํา และวรางคณา วรราช. (2555). การคงอยู่ในชนบทและในราชการของแพทย์ภายหลังการเพิ่มค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานที่ชนบท. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(2): 228-235.

พรภณ พงษ์เพชร. (2553). ความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติดระหว่างองค์การภาครัฐและองค์การภาคเยาวชน ศึกษาเฉพาะศูนย์อํานวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชน (ศอ.ปส.ย.). วิทยานิพนธ์ ร.ม. (บริหารรัฐกิจ) กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

แพทยสภา. (2561). สถิติแพทย์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก https://www.tmc.or.th/ statistics.

สุวัฒน์ เลิศสุขประเสริฐ. (2551). โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทกับการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(ฉบับเพิ่มเติม 7): 1906-1914.

สํานักงานบริหารโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท. (2560). ระบบฐานข้อมูลนักศึกษาแพทย์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก http://www.icpird.in.th.

Agranoff, R. & McGuire, M. (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Governments. Washington, DC: Georgetown University Press.

Bryson, J.M., Crosby, B.C. and Stone, M.M. (2006). The Design and Implementation of Cross-Sector Collaborations: Propositions from the Literature. Public AdministrationReview, 66(1): 44-55.

Gray, B. (1989). Collaborating: Finding Common Ground for Multiparty Problems.San Francisco: Jossey Bass.Lank, E. (2006). Collaborative Advantage. New York: Palgrave Macmillan.

McGuire, M. (2006). Collaborative Public Management: Assessing What We Know and How We Know It. Public Administration Review, 66(Special issue): 33-42.

O’Leary, R. and Vij, N. (2012). Collaborative Public Management: Where Have We Been and Where are We Going?. The American Review of Public Administration,42(5): 507-522.

Thomson, A.M., Perry, J.L. and Miller, T.K. (2008). Linking Collaboration Processes and Outcomes: Foundations for Advancing Empirical Theory. In Bingham, L.B. and O’Leary, R. (Eds.), Big Ideas in Collaborative Public Management. New York: ME Sharpe.

Whangmahaporn, P. (2013). Collaboration in the Management Administration of Schoolsfor the Elderly in Public Service: A Cross Case Analysis in Thailand. Journal of Governance and Development, 9: 35-61.

Downloads

Published

2024-04-30