รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข
The Development Model of the Basic School as aHappy Organization
Keywords:
องค์ประกอบและปัจจัยในการสร้างสุข , ความสุขในสถานศึกษา , องค์กรแห่งความสุขAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรหรือปัจจัยของการเป็นองค์กร แห่งความสุขของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เสนอรูปแบบและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1)องค์ประกอบด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม 2)องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพ และ3)องค์ประกอบ ด้านความพึงพอใจ ส่วนตัวแปรหรือปัจจัยแห่งความสุขจะแปรผันไปตามรายองค์ประกอบและรายกลุ่ม ของผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา (กลุ ่มนักเรียน กลุ่มครู กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษา กลุ ่มผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) ที่งานวิจัยนี้ได้ออกแบบเก็บ รวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาและคัดเลือกปัจจัยตามลำดับความสำคัญ 5รายการ ในแต่ละองค์ประกอบเพื่อเป็นแนวทางสำ หรับการวิเคราะห์และวางแผนดำ เนินการให้สอดคล้องกับ บริบทของแต่ละสถานศึกษาต่อไป รูปแบบและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขใน แต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักเรียน จุดเน้นที่องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพ กลุ่มครู กลุ่มบุคลากรสาย สนับสนุนการศึกษา และกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีจุดที่องค์ประกอบด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีจุดเน้นที่องค์ประกอบด้านความพึงพอใจต่อ สิ่งต่าง ๆ ในสถานศึกษา ในการนำแนวปฏิบัติหรือวิธีดำ เนินการในแต่ละด้านควรดำ เนินการตามReferences
บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ, บมจ. (2553). BAFS Filling Up Our Society: รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ.
บุญจง ชวศิริวงศ์. (2550). Happy Workplace. วารสารพัฒนาสังคม, 9(2): 61-93.
ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์. (2559). จุดประกายให้คิดชีวิตคมชัด. เชียงใหม่: โรงพิมพ์จตุพร.
ประเวศ วะสี. (2548). เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: มรรค 12 สู่ประเทศไทยอยู่เย็นเป็นสุข. นนทบุรี: สําานักงานปฏิรูประบบสาธารณสุขแห่งชาติ.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2542). ทฤษฎีและแนวความคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมาคมเครือข่ายบริการวิศวการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). แอบดู Google บริษัทที่พนักงานมีความสุขที่สุดในโลก. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561, จาก http://www. hehaworkplace.com
ศูนย์องค์กรสุขภาวะ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ผนึกกําาลังสร้าง ‘โรงเรียนแห่งความสุข’แดนอีสานล่าง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/32131-ผนึกกําาลังสร้าง%20’โรงเรียนแห่งความสุข’%20แดนอีสานล่าง.html
โอภาส เสวิกุล. (2544). เนื่องในพระราชดําาริ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Education and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12): 652-659.
OECD. (2013). How’s Life? 2013: Measuring Well-being. Paris: OECD Publishing.
Rath, Tom & Harter, Jim. (2012). Wellbeing: The Five Essential Elements. New York. Gallup Press.
UNESCO. (2017). Promoting Learner Happiness and Well-being. Bangkok: UNESCO Asia-Pacific Education Thematic Brief.
Warr, Peter. (2007). Work, Happiness, and Unhappiness. Mahwah: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
White, N. P. (2006). A Brief History of Happiness. Malden, ME: Blackwell publishing.
Liang, Xiaoyan; Kidwai, Huma; & Zhang, Minxuan. (2016). How Shanghai Does It: Insights and Lessons from the Highest-Ranking Education System in the World. Washington: World Bank Group.