การยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแล สู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง
Enhancing of Nanglae Pineapple Farmers Becoming Smart Farmers
Keywords:
เกษตรกรปราดเปรื่อง, สับปะรดนางแล, โซ่คุณค่าAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพในปัจจุบันของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแล2) ศึกษาโซ่คุณค่าของสับปะรดนางแลในจังหวัดเชียงราย 3) ศึกษาและหาแนวทางในการจัดการห่วงโซ่คุณค่าสับปะรดนางแลในจังหวัดเชียงรายให้มีประสิทธิภาพ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับสับปะรดนางแลจังหวัดเชียงราย โดยประชากรในการศึกษาได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแลในเขตตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายทั้งสิ้น 54 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพได้แก่ การสำรวจ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยด้านศักยภาพตามคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดนางแล มีศักยภาพตามคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร รองลงมา ได้แก่ด้านมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจผลการศึกษาโซ่คุณค่าของสับปรดนางแลในจังหวัดเชียงรายพบว่า ต้นกล้าสับปะรดที่ใช้ในการเพาะปลูกส่วนใหญ่เพาะต้นกล้าขึ้นมาเอง ส่วนปุ๋ยมีการสั่งซื้อจากสหกรณ์การเกษตรตำบลนางแล การดำเนินงานในส่วนของขั้นตอนการปลูกสับปะรดส่วนใหญ่ใช้ต้นกล้าเดิมไม่มีการเพาะปลูกเพิ่มเติม เนื่องจากต้นสับปะรดหนึ่งต้นสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 4 ปี การใส่ปุ๋ยต้นสับปะรดจะให้ปุ๋ยอยู่ 1 ครั้งโดยใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 การเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงกรกฎาคม โดยใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวทั้งหมด ช่องทางการจัดจําาหน่ายพบว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ช่องทางคือ 1)ขายปลีกให้กับนักท่องเที่ยว 2) ขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง 3) ส่งออกไปยังต่างประเทศ และ4) แปรรูป ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีการพยากรณ์การเพาะปลูกและมีการวางแผนด้านแรงงานก่อนทุกครั้ง ปัญหาที่พบคือ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาช่วยในการจัดการ โรคราขาว น้ำฝนไม่เพียงพอ สับปะรดแตก ช่องทางการจัดจําหน่าย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตสับปะรดและต้นทุนผลการศึกษานี้ยังได้มีการเสนอวิธีการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของสับปะรดนางแลในจังหวัดเชียงรายด้วยReferences
ครอบครัวข่าว 3. (2560). เชียงราย-ช่วยชาวสวนสับปะรดภูแลหลังราคาตก กก.ละ 2 บาท. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560, จาก http://www.krobkruakao.com/index.php/local/46577.
ชนิตา พันธุ์มณี และอัมรินทร์ คีรีแก้ว. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อาราบิกาอินทรีย์ ในภาคเหนือของประเทศไทย: การประยุกต์ใช้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า.วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เศรษฐศาสตร์). เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2559). สมาร์ทฟาร์มคืออะไร. สืบค้นเมื่อ13 ธันวาคม 2560, จาก http://otop.dss.go.th/index.php/2014-10-09-08-12-02/article-1/103-2016-11-28-08-12-01
นลทวรรณ มากหลาย และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2559). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ จังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/59/ingrc2016/pdf/HMP4.pdf.
ธันวา สงวนจิตร. (2543). การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน : บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจ และสังคม. รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ 15-17 พ.ย. 2543.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เกษตรกรยุคใหม่เพื่ออนาคต ประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก https://www.nesdb.go.th/download/document/Yearend/2017/bookgroup3.pdf.
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2560, จาก http://www3.oae.go.th/zone1/images/WebZone1/04-PDF/2558/03-economic-condition/2016-ChiangRai.pdf
สํานักงานเศรษฐกิจเกษตร. (2559). การเตรียมความพร้อมภาคเกษตร Smart Farmer กับการเข้าสู่ “ไทยแลนด์ 4.0”. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560, จาก http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=23177&filename=index
Porter, Michael E. (1985). Competitive Advantage. Free Press. ISBN 978-0-684-84146-5. Schmitz, Hubert. (2005). Value Chain Analysis for Policy Makers and Practitioners.Geneva: ILO.