ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสําคัญในการเดินทางท่องเที่ยวบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
Marketing Mixed Factors on Tourists’ Who PayAttention to Visit the Phlan Chai Lake,Roi-et Province
Keywords:
ส่วนประสมการตลาด, นักท่องเที่ยว, บึงพลาญชัยAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสําคัญในการเดินทางท่องเที่ยวบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด และศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวบึงพลาญชัย จําานวน 138 คน กําหนดขึ้นด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ G*Power และเก็บกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จํานวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 21 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสโสด อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือนตํา่ากว่า 10,000 บาทพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว 3 ครั้งขึ้นไป วัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ส่วนใหญ่เดินทาง 4 คนขึ้นไป และค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนใหญ่ไม่เกิน 500 บาท นักท่องเที่ยวให้ความสําคัญส่วนประสมการตลาดทั้ง 7 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.61, SD.= 0.617) ส่วนใหญ่ให้ความสําคัญระดับมากในด้านลักษณะทางกายภาพ (=3.95, SD.= 0.610) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (=3.79, SD.= 0.609) และด้านบุคลากร (=3.70, SD.= 0.741) ผลการทดสอบสมมติฐาน นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกัน ให้ความสําคัญในการท่องเที่ยวบึงพลาญชัยจังหวัดร้อย ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน ให้ความสําคัญในการท่องเที่ยวบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมไม่แตกต่างกันReferences
ขวัญฤดี ศรีไพโรจน์ และละเอียด ศิลาน้อย. (2558). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวตลาดย้อนยุค : กรณีศึกษาตลาดเกาะกลอย อําเภอเมือง จังหวัดระยอง. วารสารกระแสวัฒนธรรม.16(30): 3-14.
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2556). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดวงกมล บุญทวีทรัพย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ถ่ายเอกสาร.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-95937
ประพินรัตน์ จงกล. (2557). กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวในอําาเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤตกิรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็ก.
โศภิตสุภางค์ กุณวงศ์. (2556). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชายไทยที่ตัดสินใจใช้บริการสวนสนุกในประเทศไทย. วารสารจันทรเกษมสาร. 19(37): 57-66
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด.สืบค้นจาก http://www.mnre.go.th/roiet/th/index
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ จาตุรงกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
BLT Bangkok. (2018). เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีปี 61. สืบค้นจาก http://www.bltbangkok.com/article/info/8/584.
Brandbuffet.in.th. (2018). นักวิเคราะห์เตือน! ไทยอย่าเสพติดรายได้การท่องเที่ยวมากไป เสี่ยงสูง-รายได้ไม่กระจายทั่วประเทศ. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/01/why-thailand-tourist-industry-high-risk/
Kotler, P. (2015). Marketing Management. 15th ed. Pearson Higher Ed USA.
Lovelock, C. and Wirtz, J. (2011). Services Marketing-People, Technology, Strategy.7th ed. New Jersey: Prentice Hall.