การสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดที่เข้ารับบริการตามมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด

Authors

  • ปรีชญาณ์ นักฟ้อน

Abstract

บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดที่เข้ารับบริการตามมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการให้บริการตามมาตรการดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative method) และวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ในการศึกษา พบว่า ประเภทของสารเสพติดที่ผู้ใช้ยาที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้คือ เฮโรอีน โดยใช้วิธีการฉีดในตำแหน่งแขน เพื่อทำให้ใช้ยาในปริมาณที่น้อยและออกฤทธิ์เร็ว และส่วนใหญ่ใช้ยาเสพติดวันละ 1 ครั้ง โดยการเข้ารับบริการทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเสพติด ทำให้เกิดความระมัดระวังในการใช้ยามากยิ่งขึ้น ซึ่งพบว่า ผู้ใช้ยาเสพติดที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้เข็มใหม่ในการฉีดครั้งล่าสุด และมีการจัดการกับเข็มที่ใช้แล้วอย่างปลอดภัย รวมทั้งผู้ใช้ยาเสพติดที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด เพราะตระหนักถึงอันตรายในการติดเชื้อระหว่างตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เข้ารับบริการส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ยังไม่เคยเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในระบบต่าง ๆ จากทางภาครัฐ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการจูงใจให้กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่หน่วยงานภาครัฐเองไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นทางการให้เข้ามารับบริการได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง รวมทั้งได้รับบริการตรวจสุขภาพ ทำให้สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของตนเองได้อย่างเหมาะสม  โดยผลกระทบทางสังคมพบว่า ผู้ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่ยังถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่รัฐ และมีไม่มากนักที่ได้รับผลกระทบจากสังคมทั่วไป ซึ่งการเข้ารับบริการช่วยเอื้อให้ยเฉพาะอย่างยิ่งการจากยาเสพติด กคนในชุมชนหรือสังคมทั่วไป ตรายจากยาเสพติดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ในมาตรการได้อย่างแท้จริงื่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีขึ้น และส่งผลให้ผู้ใช้ยาเสพติดเห็นคุณค่าของตนเอง และเห็นประโยชน์จากการลดภาวการณ์พึ่งพิงยาเสพติดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่กลับมีความตั้งใจจะหยุดใช้สารเสพติดในอนาคต ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบายและแรงกดเชิงนโยบายจากฝ่ายบริหาร การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและสร้างความเข้าใจต่อหน่วยปฏิบัติร่วมกัน การยึดเป้าหมายในการดำเนินงานเดียวกันของหน่วยงานภาคี ข้อมูลการดำเนินงานที่ชัดเจน ความเข้าใจและการยอมรับของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และมุมมองและทัศนคติที่มีต่อผู้ใช้ยาเสพติด ทั้งนี้ ควรมีการประสานเชื่อมโยงการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตลอดจนนำข้อมูลการดำเนินงานมาทำการวิเคราะห์และพัฒนา เพื่อในเกิดแนวทางการดำเนินการที่กว้างขวางและขยายรูปแบบการให้บริการได้ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ยาได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คำสำคัญ ยาเสพติด, การลดอันตราย, ผู้ใช้ยาเสพติด, ผู้ใช้ยาเสพติดแบบฉีด

Downloads

Published

2019-01-09